สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 ก.ค 67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.ตาก (131 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.บึงกาฬ (26 มม.) ภาคกลาง : จ.สมุทรปราการ (6 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ปราจีนบุรี (46 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (116 มม.) ภาคใต้ : จ.ชุมพร (100 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 27 – 30 ก.ค. 67 จะมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 51% ของความจุเก็บกัก (41,253 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 27% (15,593 ล้าน ลบ.ม.)

3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 8/2567 ลงวันที่ 21 ก.ค. 67 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24-31 ก.ค. 67 มีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้

3.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี
ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล

3.2 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ น่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา สระบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ตราด และระนอง

3.3 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำพอง ลำน้ำก่ำ แม่น้ำชี ลำเซบาย แม่น้ำยัง และแม่น้ำตราด

4. การบริหารจัดการน้ำ : สทนช.ประชุมติดตามสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ คาดว่าจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ลุ่มต่ำอย่างใกล้ชิด และติดตามสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่เตรียมความพร้อมรับฝนตกตอนบน หากมีปริมาณน้ำเกินเกณฑ์ควบคุมได้มีแผนในการผันน้ำเข้าพื้นที่หน่วงน้ำ แหล่งน้ำ และทุ่งลุ่มต่ำต่าง ๆ เช่น บึงบอระเพ็ด ทุ่งบางระกำ ฯลฯ รวมถึงมีการผันน้ำเข้าฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของเขื่อนเจ้าพระยาผ่านคลองต่าง ๆ เช่น แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย คลองชัยนาท-ป่าสัก คลองมหาราช เป็นต้น ซึ่ง สทนช. ได้บูรณาหน่วยงานในพื้นที่ จังหวัดต่าง ๆ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ให้ติดตามประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้
• กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พิจารณาปรับเกณฑ์การระบายน้ำ โดยจะต้องไม่ให้กระทบกับปริมาณน้ำในลำน้ำ และพื้นที่ท้ายน้ำ
• บริหารน้ำในอ่างฯ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งอ่างฯ ขนาดใหญ่ กลาง และขนาดเล็ก ที่มีปริมาณน้ำมาก
• เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ การประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง

5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 24 ก.ค…67 ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จ.ตาก (อ.เมืองฯ) จ.พิจิตร (อ.สากเหล็ก) จ.พิษณุโลก (อ.เนินมะปรางและนครไทย) จ.ขอนแก่น (อ.มัญจาคีรี บ้านไผ่ บ้านแฮด บ้านภูผาม่าน ชุมแพ และหนองเรือ) จ.ชัยภูมิ (อ.คอนสาร บ้านแท่น ภูเขียว และเกษตรสมบูรณ์) จ.ร้อยเอ็ด (อ.ปทุมรัตต์ และเกษตรวิสัย) จ.อุบลราชธานี (อ.เดชอุดม) จ.จันทบุรี (อ.เมืองฯ และท่าใหม่) และจ.ตราด (อ.เมืองฯ )