วว. หารือ BBGI สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ การบริการ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ดร.โสภาพรรณ สัญญาณเสนาะ ผอ.สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และบุคลากร วว. ร่วมให้การต้อนรับ คณะผู้บริหาร บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ คือ “มุ่งสู่การเป็นผู้นำกลุ่มบริษัทผลิตภัณฑ์ชีวภาพด้วยนวัตกรรมสีเขียวและดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางอย่างยั่งยืน” นำโดย นายวัชระ สุวัฒน์วรพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการค้าและการตลาด บริษัท บีบีจีไอฯ ในโอกาสเข้าประชุมหารือแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์และการบริการ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.)

โอกาสนี้ วว. นำเสนอศักยภาพการให้บริการด้านการวิจัยพัฒนาและโครงสร้างพื้นฐาน Scale up facilities พร้อมนำเยี่ยมชมภารกิจ ดังนี้ **ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM 1) โดย นายปัณณธร ทวีเทพไทกุล ผู้จัดการ ICPIM 1 **ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM 2 ด้านการเกษตร) โดย ดร.ตันติมา กำลัง นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ และ **ศูนย์ทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ โดย ดร.อัญชนา พัฒนสุพงษ์ ผู้อำนวยการ ห้องปฏิบัติการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ (BioD) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ณ วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี

ทั้งนี้ วว. ขับเคลื่อนองค์กรด้วยยุทธศาสตร์ 1) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ BCG 2) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถของ SMEs และอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3) พัฒนานวัตกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจและสังคม 4) พัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Innovation Organization) และ 5) เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (Financial stability)

ดังนั้นในการหารือเพื่อหาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์และการบริการ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กับคณะผู้บริหารบริษัท บีบีจีไอฯ ในครั้งนี้ จึงมีความสอดคล้องกับบริบทการดำเนินงานของทั้งสองหน่วยงาน อันจะนำไปสู่การวิจัยพัฒนาและบริการที่ตอบโจทย์ของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมในระยะเวลาอันใกล้ต่อไป