มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ International Peace Foundation (IPF) และการสนับสนุนของ บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง จำกัด โรงแรมดุสิตธานี แอนด์รีสอร์ท ธนาคารกสิกรไทย และ บีเอ็มดับเบิลยู เปิดปาฐกถาพิเศษโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี Prof. Aaron Ciechanover ในหัวข้อ Personalized medicine renovation: Are we going to cure all diseases and at what price? ภายใต้กิจกรรม JAPAN-ASEAN BRIDGES Event Series ในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียน และในวาระครบรอบ 55 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี 2566
โดย ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวเปิดงาน Mr. Uwe Morawetz, Founding Chairman of International Peace Foundation กล่าวรายงาน รศ. ดร.ภก.นิมิตร วรกุล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นักศึกษา และนักเรียนในพื้นที่ เข้าร่วมรับฟังอย่างคับคั่ง ณ ห้องประชุมทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในวันที่ 31 ม.ค. 67
สำหรับ Professor Aaron Ciechanover (ศาสตราจารย์ อารอน ชีชาโนเวอร์) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี เมื่อปี ค.ศ. 2004 ร่วมกับ Professor Avram Hershko and Professor Irwin จากการค้นพบการย่อยสลายของโปรตีนโดยมียูบิควิติน (ubiquitin) เป็นสื่อกลาง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิจัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของคณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอิสราเอล ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Haifa ประเทศอิสราเอล
ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า กิจกรรมปาฐกถาพิเศษโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในครั้งนี้ เป็นการจัดงานครั้งที่ 3 ภายใต้กิจกรรม JAPAN-ASEAN BRIDGES Event Series โดยมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับ International Peace Foundation (IPF) ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 55 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี 2566
“มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรม การวิจัย และการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในภาคใต้และประเทศ ซึ่งความสำเร็จนี้ได้มาจากคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน ม.อ. ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เมื่อ 46 ปีที่แล้ว เชื่อว่าการปาฐกถาพิเศษโดย Prof. Aaron Ciechanover ในหัวข้อ Personalized medicine renovation: Are we going to cure all diseases and at what price? ในครั้งนี้ จะสร้างการรับรู้แก่เครือข่ายการวิจัยทั่วโลก และเป็นก้าวสำคัญสู่การพัฒนาสังคมที่ดีขึ้น ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เข้าร่วมงานทุกคน สู่การยกระดับชุมชนและสังคมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป”
ด้าน รศ. ดร.ภก.นิมิตร วรกุล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกีรยติอย่างมากที่ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมปาฐกถาพิเศษโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี Prof. Aaron Ciechanover ในหัวข้อ Personalized medicine renovation: Are we going to cure all diseases and at what price? ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ และจะส่งผลต่อชีวิตมนุษย์และอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
คณะเภสัชศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมื่อ 46 ปีที่แล้ว คณาจารย์มีความมุ่งมั่นในการดูแลสุขภาพของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมยกระดับไปสู่สากล เป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกิจกรรรมที่จัดขั้นในครั้งนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนด้านสุขภาพในระดับนานาชาติ
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมปาฐกถาพิเศษโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลอีก 2 ครั้ง ได้แก่
คณะเศรษฐศาสตร์ วันที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 14.00 น. หัวข้อ The prospects for global financial stability โดย Prof. Robert F. Engle III ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ณ ห้อง Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ม.อ.
คณะแพทยศาสตร์ วันที่ 27 มีนาคม 2567 เวลา 15.00 น. หัวข้อ The role of basic science in biotechnology โดย Prof. Randy W.Schekman ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ณ ห้องประชุมทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ คณะแพทยศาสตร์