โครงการชลประทานพิจิตร ฝายยางพญาวัง พองยางยกขึ้น เพื่อเก็บกักน้ำในแม่น้ำยม ได้มีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศน์และ น้ำทำการเกษตรช่วงฤดูแล้งปี 2566/67

วันที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00 น. นายเอกฉัตร เอี่ยมตาล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิจิตร มอบหมายให้นายวิทูร เกิดอินทร์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำฝายยางพญาวัง ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ได้ทำการพองยางยกขึ้น เพื่อรักษาระดับน้ำหน้าฝายให้ได้ตามเกณฑ์เก็บกักน้ำที่ระดับ +26.75 ม.รทก. สามารถกักเก็บน้ำไว้ตามความยาว ลำน้ำยมได้ 3.69 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับสำรองน้ำในแม่น้ำยมตอนล่างเนื่องจากแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนใหญ่กักเก็บน้ำต้นทุนและขณะนี้เข้าสู่ฤดูแล้งไม่มีฝนตกในพื้นที่แล้วกอบกับระดับน้ำในทุ่ง ลำคลองสาขาต่างๆ ได้ลดลงอย่างรวดเร็วได้มีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศน์และ น้ำทำการเกษตร ในพื้นที่เขตตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล ตำบลบางลาย อำเภอบึงนาราง ตำบลไผ่ท่าโพธิ์ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร

กรมชลประทาน วางแผนจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 โดยมีการส่งน้ำในเขตชลประทานต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดพิจิตร ได้มีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศน์และสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยมีการจัดรอบเวรเพื่อเป็นการประหยัดน้ำ การส่งเสริมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งให้สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าสูบน้ำตามรอบเวรอย่างเคร่งครัด ซึ่งจังหวัดพิจิตรมีพื้นที่การเกษตร ทั้งหมด 2,831,882 ไร่ พื้นที่ในเขตชลประทานทั้งหมด 1,087,729 ไร่ โดยมีพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา 882,286 ไร่, พื้นที่โครงการขนาดกลางและสูบน้ำด้วยไฟฟ้ารวม 259,443 ไร่, พื้นที่นอกเขตชลประทานทั้งหมด 1,744,153 ไร่สำหรับที่อยู่นอกเขตชลประทานทั้งหมด ต้องวางแผนให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำในพื้นที่ จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นลำน้ำยมห้วยหนองคลองบึงสระแก้มลิงหรือบ่อบาดาลต่างๆ ให้พร้อมรับมือรับมือฤดูแล้งปี 2566/67 ที่มีระยะเวลายาวนานต่อไปไปจนถึงฤดูฝนปีหน้า ทั้งนี้เป็นการดำเนินการตาม 9 มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2566/67 ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เห็นชอบอย่างมีประสิทธิภาพ