กรมโยธาธิการและผังเมืองขับเคลื่อนผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo-social Map) กิจกรรมโครงการ Big Cleaning Day กำจัดผักตบชวา และสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำห้วยตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 น. กรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับจังหวัดเพชรบุรี ได้จัดโครงการขับเคลื่อนตาม ผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo-social Map) กิจกรรมโครงการ Big Cleaning Day กำจัดผักตบชวา และสิ่งกีดขวางทางน้ำใน ลำห้วยตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
นำโดย นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นประธาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสา ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย ร่วมโครงการฯ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคเอกชน ส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี Change for Good ในพื้นที่
นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดทำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – Social Map) ซึ่งเป็นการน้อมนำศาสตร์พระราชา มาปรับใช้ในการขับเคลื่อนการจัดทำผังภูมิสังคมฯ ทั่วประเทศ 76 จังหวัด เพื่อให้แต่ละหน่วยงานนำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดโครงการและกิจกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและ น้ำแล้งให้กับประชาชน พัฒนาเครือข่ายการทำงานแบบบูรณาการของผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชน และภาคีเครือข่ายผังภูมิสังคม เป็นผังที่แสดงสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ในเชิงกายภาพและสังคมวิทยา จัดทำขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
การพัฒนาโดยยึดหลักภูมิสังคมนี้ คือหลักสำคัญยิ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นกระบวนการที่หน่วยงานภาครัฐเข้าไปแนะนำ อธิบายให้คนในพื้นที่เข้าใจสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ให้คนในพื้นที่ช่วยกันคิดว่าต้องการอะไรจริงๆ และเขียนบันทึกลงในผังภูมิสังคม เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้วางแผนงานโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนในลักษณะภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนา และเกิดการรักษาให้ยั่งยืน เนี่องจากเป็นโครงการและกิจกรรมที่ตนมีส่วนร่วม และได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
จังหวัดเพชรบุรีได้ดำเนินการจัดทำผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน แล้วเสร็จครบทั้งครบทั้ง 8 อำเภอ 93 ตำบล 684 หมู่บ้าน และได้จัดทำโครงการที่ภาคประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานโดยไม่ขอสนับสนุน งบประมาณจากภาครัฐ พร้อมทั้งมีภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การ สนับสนุนเครื่องจักรกลในการดำเนินงาน ซึ่งได้นำแผนงาน/โครงการที่ได้จากการประชุมผังดังกล่าว ไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ครบทั้ง 8 อำเภอ โดยจังหวัดเพชรบุรีกำหนดการจัดพิธีเปิดกิจกรรมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ Big Cleaning Day กำจัดผักตบชวา และสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำห้วยตำบลถ้ำรงค์ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ในวันนี้ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน เจ้าหน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการนี้ ซึ่งจะเป็นโครงการนำร่อง พร้อมกับเป็นต้นแบบและตัวอย่างที่ดีให้แก่พื้นที่อื่นๆ ที่จะนำไปพัฒนา พื้นที่ของตนเองต่อไป
นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ร่วมกิจกรรม กิจกรรมโครงการ Big Cleaning Day กำจัดผักตบชวา และสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำห้วยตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ขับเคลื่อนการพัฒนาตามผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – social Map) เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกมิติให้กับประชาชน ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม จัดทำขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน ในลักษณะภาคีเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนา ซึ่งจะช่วยนำไปสู่เป้าหมายการปฏิบัติภารกิจเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน การดำเนินกิจกรรมโครงการในครั้งนี้โดยการอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคราชการ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาจริงในพื้นที่ สำหรับลำห้วยดอนตะโก เป็นลำน้ำที่รองรับน้ำจากแม่น้ำเพชรบุรีในฤดูน้ำหลาก ป้องกันน้ำทะลักเข้าสู่ตัวเมืองเพชรบุรี รวมทั้งเป็นแก้มลิงในการกักเก็บน้ำช่วงฤดูแล้ง
ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้มีการกำจัดผักตบชวาในลำน้ำระยะทางกว่า 300 เมตร ประชาชนได้รับประโยชน์ทั้งในพื้นที่ตำบลถ้ำรงค์ และตำบลไร่มะขาม เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคเอกชน ส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี Change for Good ในพื้นที่ ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำการดำเนินโครงการพัฒนาตามผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo-social Map) ในพื้นที่เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน โครงการ 72 พรรษา 7,300 โครงการพัฒนาตามผังภูมิสังคม ร่วมกันถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
การพัฒนาตามผังภูมิสังคมฯ ในระดับอำเภอบ้านลาด จะส่งผลกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องจากหน่วยงาน และองค์กรในระดับพื้นที่ตำบลและอำเภอ ในการพัฒนาพื้นที่โครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามผังภูมิสังคมอย่างมีระบบเกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชน องค์กรภาคเอกชน ส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค