วันที่ 31 ตุลาคม 2566 นายจักริน ประเสริฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 7 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 มอบหมายให้ นายพิศิษฐศักดิ์ โชตะมังสะ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 พร้อมด้วย นายธีระศักดิ์ ประหยัด ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา นายณรงค์ มัดทองหลาง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่โครงการฯ ร่วมให้การต้อนรับคณะดูงานจากสถาบันสิ่งแวดล้อมสต็อคโฮล์ม ภาคพื้นเอเชีย (Stockholm Environment lnstitute (SEl) – Asia Centre) จัดประชุมระดับภูมิภาค 6 ประเทศ
ได้แก่ ไทย จีน ลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา เพื่อส่งเสริมการนำใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำสำหรับนาข้าว ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้ได้นำคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชม โครงการชลประทานอัจฉริยะเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวม ระยะที่ 1 ได้แก่
– งานพัฒนาระบบการจัดการเพาะปลูกอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และ loT พร้อมจัดรูปแปลง และปรับปรุงระบบส่งน้ำแบบ On-farm แบบอัตโนมัติ เพื่อจัดการน้ำและปุ๋ยแก่พืชตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
– งานพัฒนาระบบควบคุมการแบ่งจ่ายน้ำอัจฉริยะ จากอาคาร Outlet ไปยังระบบคลองส่งน้ำหลักเพื่อแบ่งจ่ายน้ำสู่พื้นที่การจัดการน้ำ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดระยะไกลในอาคาร Outlet อุปกรณ์ควบคุมอาคารบังคับน้ำปากคลอง LMC และ RMC รวมทั้งคลอง 4L-RMC
– การส่งเสริมวิธีการเพาะปลูกพืชและการจัดการน้ำอย่างเหมาะสม โดยการเตรียมแปลงเพาะปลูก การเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ ข้าวหอมปทุมธานี 1 ข้าวกข41 ข้าวไรซ์เบอรี่ และพืชหลังฤดูกาล เช่น ปอเทือง กระจับ และถั่วเหลือง รวมทั้งการปลูกหญ้าแฝกป้องกันการกัดเซาะในแปลงสาธิต ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา