“เอสซีจี” โดย CPAC Green Solution เดินหน้าให้การสนับสนุนพร้อมย้ำความร่วมมือ ในพิธีเปิดโครงการฟื้นฟูปะการังด้วยฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution บริเวณเกาะสะเก็ด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์-ฟื้นฟูปะการังและชายหาด (มอป.) รวมพลังทุกภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันในการฟื้นฟูและเพิ่มความสมบูรณ์ของแนวปะการังน้ำตื้น เกาะสะเก็ด เพื่ออนุรักษ์ และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
นายคณพศ ขุนทอง ผู้ช่วยผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กนอ. มีนโยบายการดูแลสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการดูแลสภาพแวดล้อม โดยในแต่ละพื้นที่จะมีการประเมินว่าในเรื่องของสภาพแวดล้อมประเด็นใดที่ต้องได้รับการดูแล สำหรับในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สิ่งที่ส่งผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ คือ การถมทะเลเพื่อสร้างท่าเรืออุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล ทั้งสัตว์น้ำ และแนวปะการัง จากการสำรวจในปัจจุบันพบว่าบริเวณแนวปะการังรอบเกาะสะเก็ดบางส่วนลดลง โดยเกาะสะเก็ด เป็นเกาะขนาดเล็ก ห่างจากพื้นที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดไม่ถึง 1 กิโลเมตร พื้นที่บนเกาะประมาณ 30 ไร่ โดยในอดีตเกาะสะเก็ดคือเกาะที่ได้รับความนิยมของหมู่นักท่องเที่ยว เพราะมีทิวทัศน์ที่สวยงาม
นอกจากนี้เกาะสะเก็ดยังมีแนวหินที่เป็นแหล่งเพราะพันธุ์หอยแมลงภู่ หอยจอบ และหอยนางรม อีกทั้งยังเป็นแหล่งปะการังที่เคยมีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง ทาง กนอ. และมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์-ฟื้นฟูปะการังและชายหาด (มอป.) จึงมีแนวคิดที่จะฟื้นฟู และเพิ่มความสมบูรณ์ของแนวปะการังน้ำตื้นบริเวณเกาะสะเก็ด โดยการนำวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง หรือ บ้านปะการัง จากเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution ของทาง SCG โดย CPAC Green Solution มาขึ้นรูปเป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและสัตว์น้ำ และทำการเปิดตัวโครงการฟื้นฟูปะการังด้วยฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง 3D Concrete Printing บริเวณเกาะสะเก็ด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ในครั้งนี้
นางอัญชลี ชวนิชย์ ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์-ฟื้นฟูปะการัง และชายหาด กล่าวว่า ในปัจจุบัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีคำสั่งเรื่อง การคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณพื้นที่เกาะสะเก็ด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โดยได้กำหนดแนวทางการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อประโยชน์ในการ ฟื้นฟู อนุรักษ์ หรือเป็นการศึกษา การวิจัยทางวิชาการ รวมถึงการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในการนี้ทางมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู-ปะการังและชายหาด และ กนอ. จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 จังหวัดระยอง
พร้อมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในการฟื้นฟูปะการัง โดยทำการเปิดโครงการฟื้นฟูปะการังด้วยฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง 3D Concrete Printing ในครั้งนี้ โดยแผนการดำเนินโครงการมีระยะเวลา 3 ปี (2566-2568) ซึ่งภายหลังจากการวางบ้านปะการังในแต่ละปีแล้ว จะมีการติดตามผล รวมทั้งทำการศึกษา วิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินผลการดำเนินการเป็นระยะ และเพื่อให้ เกาะสะเก็ด เป็นแหล่งเรียนรู้ของการอยู่ร่วมกันของการพัฒนา และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนสืบไป
นายมงคล พรชื่นชูวงศ์ ผู้อำนวยการธุรกิจสัมพันธ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า บ้านปะการัง ด้วยเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution เกิดจากความร่วมมือและพัฒนาโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะสัตว์แพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ SCG โดย CPAC Green Solution ภายใต้โครงการรักษ์ทะเล ดำเนินการโดยมูลนิธิ Earth Agenda โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูปะการัง ซึ่งจะช่วยให้ตัวอ่อนปะการังลงเกาะและเจริญเติบโตได้ดี มีรูปแบบสวยงามและกลมกลืนเสมือนปะการังจริง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทางทะเลทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ นับเป็นนวัตกรรมที่จะเปลี่ยนโลกนี้ให้เป็นโลกที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโลกใต้ทะเล ซึ่งเป็นระบบนิเวศหลักและเป็นแหล่งกำเนิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
สำหรับความร่วมมือในการเปิดตัวโครงการฟื้นฟูปะการังด้วยฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง 3D Concrete Printing บริเวณเกาะสะเก็ด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยทาง กนอ. และมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์-ฟื้นฟูปะการังและชายหาด (มอป.) ในครั้งนี้ นับเป็นการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และยังเป็นการรวมพลังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยบ้านปะการัง เพื่อให้ เกาะสะเก็ด กลับมาสวยงามดังเดิมอย่างยั่งยืน
นายสุขธวัช พัทธวรากร ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและพันธกิจสังคม บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับการเปิดตัวโครงการฟื้นฟูปะการังด้วยฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง 3D Concrete Printing บริเวณเกาะสะเก็ด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยทาง กนอ. และมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์-ฟื้นฟูปะการังและชายหาด (มอป.) ในครั้งนี้ ทาง เอสซีจี รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งนวัตกรรมบ้านปะการังนี้ เหมาะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและสัตว์น้ำ ผลิตจากปูนซีเมนต์รักษ์โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ที่ช่วยในการฟื้นฟูทรัพยากรท้องทะเลไทยได้อย่างยั่งยืน และจากความร่วมมือในครั้งนี้ เอสซีจี มุ่งหวังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมีส่วนร่วมจากพันธมิตรทางธุรกิจ เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการและสังคม ในการร่วมสนับสนุนอนุรักษ์เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือกันในอนาคตและสามารถขยายผล อย่างเป็นรูปธรรมได้จริง อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาและการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติถึงคนรุ่นต่อๆ ไป
โดยผู้ที่สนใจในโครงการฟื้นฟูปะการังด้วยฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง 3D Concrete Printing บริเวณเกาะสะเก็ด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์-ฟื้นฟูปะการังและชายหาด (มอป.) Email : cccpakarang@gmail.com