กรมชลประทาน เปิดเวทีประชุม “ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำ รุ่นที่ 1” ยกระดับการพัฒนาความมั่นคงด้านน้ำ

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ นายอภิชาติ ชุมนุมมณี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาด้านความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก และลำพูน เป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำ รุ่นที่ 1” โดยมีนายจิตะพล รอดพลอย ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ และบรรยายเรื่อง “แนวทางปฏิบัติการเชื่อมโยงแผนบูรณาการพัฒนาด้านความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่ด้งกล่าวภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย”

ในการนี้ นายสายเมือง วิรยศิริ รองประธานที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ บรรยายเรื่อง “สถานการณ์และประเด็นปัญหาบนพื้นที่สูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน นางสาวสุนิสา แพรภัทรประสิทธิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ  บรรยายเรื่อง “แนวทางอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม” รวมทั้งได้มีการเปิดเวทีอภิปรายถึง “ผลการศึกษาโครงการสร้างการรับรู้ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแมฮ่องสอน” โดย รศ.ดร. เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยและพัฒนาบูรณาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ไผลการดำเนินการช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่” โดย ดร. สุรพงษ์ วีระศิลป์ชัย  นายกสมาคมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวไทย โดยมีนายสายเมือง วิรยศิริ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มีเป้าหมายเพื่อร่วมกันจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาด้านความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก และจังหวัดลำพูน จัดขึ้นโดย สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 กรมชลประทาน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร  สำหรับช่วงบ่ายได้แบ่งกลุ่มตามพื้นที่จังหวัด เพื่อ Workshop การจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาด้านความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัด มีการสรุปนำเสนอผลงานกลุ่ม มอบแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ เป็นมิติใหม่ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินการพัฒนาภายใต้การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วนในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่โครงการของกรมชลประทาน ตลอดจนสนับสนุนการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงของมนุษย์ ของประชาชนชาวไทย และชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ ให้ได้รับการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน