พื้นที่รับน้ำทางตอนบนของลุ่มน้ำป่าสัก บริเวณเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีลักษณะทางกายภาพเป็นรูปขนนกที่มีความยาว และมีความลาดชันสูง จึงทำให้ในช่วงฤดูฝน ปริมาณน้ำทั้งจากลำน้ำสายหลัก และลำสาขาจะไหลจากด้านบนมาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้บางครั้งเกิดน้ำล้นตลิ่งสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่การเกษตร บ้านเรือน และทรัพสินย์ของประชาชน กรมชลประทานจึงนำเทคโนโลยี ระบบเรดาร์ Solid- State Polarimetric X-band มาใช้ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำ
ด้วยการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOC) กับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร แห่งประเทศญี่ปุ่น (MIC) ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการน้ำ ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านวิชาการ ตอบสนองภารกิจของการชลประทานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
แลกเปลี่ยนความรู้พัฒนาให้เกิดนวัตกรรมร่วมกันด้านบริหารจัดการน้ำ ได้อย่างบูรณาการ รวมถึงความร่วมมือ พัฒนา ตลอดจนการดูแลรักษาสถานีเรดาร์ ระบบเรดาร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้สามารถใช้งานในการป้องกันภัยพิบัติ ได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด