โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ เตรียมความพร้อมบริหารจัดการน้ำต้นทุนและรับมือฤดูฝนปี 66

Featured Video Play Icon

วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท  ดร.ทวีศักดิ์  ธนเดโชพล  รองอธิบดีกรมชลประทาน  ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปี 66  พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เขตพื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 12 และ 10  โดยมี ดร.ธเนศร์  สมบูรณ์  ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา   นายเอนก ก้านสังวอน   ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล  นายวัชระ ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12  นายเสริมชัย เซียวศิริถาวร  ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10  พร้อมด้วย ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการสำนัก/กอง และผู้เกี่ยวข้อง  ในการนี้ นายโบว์แดง  ทาแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ ได้กล่าวรายงานถึงการเตรียมความพร้อมรับมือในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงนี้

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้เตรียมการ จัดสรรน้ำเป็นให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด โดยประตูน้ำมโนรมย์ เป็นจุดที่รับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อเข้าสู่พื้นที่ชลประทาน ให้เกษตรในพื้นที่ได้ทำการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จก่อนที่ฤดูน้ำหลากจะมาถึงในเดือนกันยายน  รวมทั้งปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน และข้อสั่งการของกรมฯ อย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด เพื่อรับมือสถานการณ์น้ำหลากรวมทั้งสถานการณ์เอลนีโญ ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำหลากและภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้น  โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์  ที่เป็นจุดรองรับน้ำจากทางตอนบน  มีการเฝ้าระวังและการส่งน้ำตามรอบเวรที่กำหนดอย่างใกล้ชิด ร่วมกันบริหารจัดการน้ำระหว่างพื้นที่ โดยใช้ระบบชลประทานในการรับน้ำและระบายน้ำให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน อย่างเป็นระบบและเต็มศักยภาพ

นายโบว์แดง  ทาแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชล ถึงความสำคัญของประตูระบายน้ำมโนรมย์ คือ ในช่วงฤดูน้ำหลากประตูมโนรมย์จะช่วยพร่องน้ำเพื่อตัดยอดน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ส่วนในฤดูแล้งก็จะมีการรับน้ำเข้าไปในพื้นที่โดยมีระบบของกรมชลประทานช่วยเหลือการเกษตร

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง และมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกรและประชาชนให้ได้มากที่สุด