ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณ จ.เชียงราย (150 มม.) จ.เลย (141 มม.) และ จ.เชียงใหม่ (141 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 20,650 ล้าน ลบ.ม. (36%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 16,583 ล้าน ลบ.ม. (35%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ อบต.สร้อยละคร ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ในพื้นที่ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ หมู่ที่ 10 บ้านห้วยใหญ่ ต.สร้อยละคร อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ โดยสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่เข้าสระประปาอบต.สร้อยละคร หมู่ที่ 3 บ้านสร้อยละคร ต.สร้อยละคร อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาที่ไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง โดยมีประชาชนได้รับประโยชน์ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 2 3 8 และ10 จำนวน 450 ครัวเรือน 1,500 คน
กอนช. ติดตามการวางแผนป้องกันเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนปี 2566
นางสาวฉวี วงศประสิทธิพร รักษาการรองเลขาธิการ สทนช. นำคณะทำงานติดตามและประเมินผลการระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในระดับโครงการ ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 ของกรมชลประทาน ได้ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2566 ติดตามสภาพปัญหาอุทกภัย ปี 2565 ดังนี้
1. ประตูระบายน้ำเจ้าเจ็ด โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อตรวจสภาพปัญหาน้ำท่วมทุ่งรับน้ำผักไห่ และการระบายน้ำของคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน ต่อเนื่อง
2. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าเจ็ด-บางยี่หน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อรับทราบผลการดำเนินการการระบายน้ำหลาก ปัญหาอุปสรรคของการรับน้ำและการระบายน้ำ ในทุ่งรับน้ำเจ้าเจ็ด ต่อเนื่องทุ่งรับน้ำพระยาบรรลือ
3. ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองบางแก้ว พร้อมเครื่องสูบน้ำโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครปฐม (ระยะที่ 1) อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม งบประมาณ 42 ล้านบาท และตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการระยะที่ 2 ในปี 2567 จำนวน 50 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างกำแพงป้องกันตลิ่งคลองบางแก้ว ความยาวทั้งหมดประมาณ 400 เมตร
ทั้งนี้ การลงพื้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ รับฟังสภาพปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด ด้านการปฏิบัติงาน และข้อเสนอแนะแนวทาง
ลดความเสี่ยงภัยน้ำท่วม ทั้งในด้านใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้างของหน่วยงาน เพื่อการปฏิบัติการรับมือฤดูฝนปี 2566 และปีต่อ ๆ ไป