ซีพีเอฟ ปลูกฝังพนักงาน ร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคมและชุมชน ขับเคลื่อน CPF 2030 Sustainability in Action

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สานพลังพนักงานร่วมสร้างคุณค่าทางสังคม เดินหน้าสร้างสรรค์โครงการเพื่อชุมชนและสังคมต่อเนื่อง มอบรางวัล Sustainability in Action 2022 รวม 69 โครงการ แก่บุคลากรที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสู่เป้าหมาย CPF 2030 Sustainability in Action สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทที่คำนึงถึงการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม มุ่งมั่นปลูกฝังพนักงานร่วมสร้างคุณค่าทางสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยจัดการประกวดรางวัล CPF ยั่งยืนได้ด้วยมือเรา หรือ CPF Sustainability in Action Awards ขึ้นตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลักสู่ความยั่งยืน “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และตินน้ำป่าคงอยู่” เพื่อส่งเสริม สนับสนุน คัดเลือกโครงการที่สร้างผลกระทบเชิงบวกด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานของทุกสายธุรกิจ

“พนักงานทุกคน ถือเป็นตัวแทนของบริษัทในการนำวิสัยทัศน์และความตั้งใจของซีพีเอฟไปสู่สังคม ด้วยการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับชุมชน ซึ่งการทำธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องคำนึงถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมด เพื่อให้ธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ตามปรัชญา 3 ประโยชน์ ประเทศได้ประโยชน์ ประชาชนได้ประโยชน์ และบริษัทจึงจะได้ประโยชน์ โดยมุ่งพัฒนาบริษัทให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นอกจากจะทำให้ธุรกิจพัฒนาและประสบความสำเร็จ ซึ่งเท่ากับผู้บริโภคจะได้รับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ดีจากบริษัทแล้ว ทุกคนต้องช่วยกันดูแลคนในสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันด้วย” นายประสิทธิ์ กล่าว

นอกจากนี้ ธุรกิจไม่เพียงต้องคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เท่านั้น ธุรกิจจะยั่งยืนได้ต้องมีความสมดุลระหว่าง 3 องค์ประกอบหลักของความยั่งยืน ตาม BCG Model ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ตลอดจนความสำคัญของลูกค้า ผู้บริโภค และธรรมาภิบาล สิ่งเหล่านี้นับเป็นองค์ประกอบที่เป็นรากฐานที่สำคัญของการสร้างความรัก ความผูกพัน ความเชื่อมั่นให้กับชุมชน สังคม ผู้บริโภค ตลอดจนคู่ค้า และผู้ถือหุ้น ดังนั้น ใน ควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับ การประกวดฯในปี 2566 มีการยกระดับกระบวนการประกวดให้เข้มข้นขึ้น ทั้งการฝึกอบรมด้านการเขียนโครงการ และการนำเสนอแบบ Pitching ตลอดจนการพิจารณารางวัลจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานคิดสร้างสรรค์โครงการที่ดีอย่างต่อเนื่อง สอดรับตาม BCG Model นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับชุมชน รวมถึงการพัฒนาโครงการให้เกิดนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) และดำเนินโครงการให้มีความต่อเนื่องสร้างคุณค่าทางสังคม เกิดเป็นผลกระทบทางสังคม (Social Impact) ในเชิงบวก ตามเป้าหมาย CPF 2030 Sustainability in Action และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 7 ด้าน ได้แก่ หลักการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ความมั่นคงทางอาหาร สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน พนักงานและชุมชน การดูแลทรัพยากรน้ำ การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ./