ทราบหรือไม่ว่า รถไฟทางคู่ มีไฮไลต์ใหม่ๆ และความเป็นที่สุด ของไทยเกิดขึ้นถึง 3 อย่าง
มีอะไรบ้าง ทำไมต้องมี แล้วจะทำให้รถไฟพัฒนาขึ้นอย่างไร เรามาทำความรู้จักและเข้าใจไปด้วยกัน
1. ทางรถไฟยกระดับที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ในโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ําโพ ถึง 19 กิโลเมตร
เป็นทางยกระดับเลี่ยงเมืองลพบุรี เพื่อให้แนวเส้นทางรถไฟไม่ผ่านพระปรางค์สามยอดและศาลพระกาฬ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญของประเทศ มีอายุหลายร้อยปี โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังนั้นจึงต้องสร้างทางรถไฟเลี่ยงเมือง ซึ่งโครงการใช้พื้นที่ร่วมกับทางหลวงหมายเลข 366 ของกรมทางหลวง บางส่วนเพื่อลดผลกระทบในการเวนคืนที่ดินของประชาชน ซึ่งมีความจำเป็นต้องเวนคืนพื้นที่เพิ่มเติมบางส่วนเท่านั้น จึงจําเป็นต้องก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้ในเขตพื้นที่ทางหลวง และป้องกันน้ําท่วมทางรถไฟ โดยทางยกระดับมีความสูงจากระดับพื้นดินถึงระดับสันรางรถไฟประมาณ 10-20 เมตร และเริ่มลดระดับลงก่อนเข้าสู่สถานีโคกกะเทียม จ.ลพบุรี
2. ทางรถไฟยกระดับที่สูงที่สุดในประเทศไทย ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
อีกหนึ่งไฮไลท์ของโครงการรถไฟทางคู่ อยู่ในช่วง มาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ เป็นการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร มีความสูงของทางยกระดับ 48-50 เมตร บริเวณคลองมวกเหล็ก ด้วยเหตุผลของสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ มีขอบภูเขาสองฝั่ง ซึ่งการก่อสร้างสะพานในช่วงนี้ สามารถร่นระยะเวลาในการเดินทาง ได้กว่า 20 นาที สามารถเดินทางตัดตรงได้ จากเดิมต้องเลาะไหล่เขา ขึ้น-ลง
3. อุโมงค์รถไฟที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ
อีกหนึ่งที่สุด ของโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ เป็นการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟลอดเทือกเขาดงพญาเย็น ระยะทาง 5.850 กิโลเมตร อยู่ระหว่างสถานีมาบกะเบา สถานีผาเสด็จ และสถานีหินลับ จังหวัดสระบุรี ซึ่งเดิมในพื้นที่นี้เป็นการไต่เลาะริมเขา ซึ่งจะทำให้รถไฟต้องชะลอความเร็ว และค่อยๆไต่เขา โดยจะเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ในปัจจุบัน
ในปี 2566 เราจะได้ใช้บริการความเป็นที่สุดของโครงการรถไฟทางคู่ของไทยแน่นอน
#การรถไฟแห่งประเทศไทย #StateRailwayofThailand #ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย