ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (83 มม.) จ.สุราษฎร์ธานี (60 มม.) และ จ.พังงา (53 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 34,528 ล้าน ลบ.ม. (61%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 27,572 ล้าน ลบ.ม. (58%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ตรวจสอบและบำรุงรักษาสถานีโทรมาตร (Telemetering) ลุ่มน้ำท่าจีน และระบบส่งสัญญานภาพ (CCTV) จำนวน 6 สถานี ในเขตพื้นที่ จ.นครปฐม และสมุทรสาคร โดยตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร อุปกรณ์ตรวจวัดน้ำฝน และคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติ พร้อมทั้งทำความสะอาดบริเวณภายในตู้ควบคุม และบริเวณโดยรอบสถานีเพื่อให้มีความพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
พลเอก ประวิตร ลงพื้นที่ จ.จันทบุรี และตราด ติดตามมาตรการรับมือแล้ง สั่งเร่งสำรวจ เตรียมแหล่งน้ำสำรอง แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ พร้อมรองรับ EEC
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.จันทบุรี และตราด เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำ ตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. บรรยายสรุปสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.ตราด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินงานในพื้นที่
รองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ สทนช. อำนวยการและกำกับดูแลโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน และให้เป็นไปตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแหล่งน้ำสำรองหรือแหล่งน้ำทางเลือกอื่นๆ เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก สำหรับพื้นที่ EEC มอบหมายกรมชลประทานเร่งรัดการขับเคลื่อนโครงการอ่างเก็บน้ำวังโตนด จ.จันทบุรี และเร่งรัดการก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญ เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยสะตอ จ.ตราด ให้เเล้วเสร็จ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความจุน้ำกักเก็บได้ 56.55 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 75,490 ไร่ ให้ตรวจสอบและเตรียมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ในโครงข่ายน้ำ EEC ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ และให้กรมทรัพยากรน้ำ เร่งสำรวจและก่อสร้างโครงการด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ให้จังหวัดประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือในการเร่งรัดการก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญ และเดินหน้าขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำให้เป็นรูปธรรมและยกระดับคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐานพร้อมเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างการรับรู้ให้กับภาคประชาชน เพื่อความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ในระดับพื้นที่ ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป