กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาเครือข่ายนักวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ และบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ นักวิชาการ นักเรียนนักศึกษา ที่เป็นผู้ใช้ข้อมูลความรู้ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าลดอัตราการบริโภคยาสูบลงอย่างน้อยร้อยละ 30 สร้างสิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 18 เรื่อง “Tobacco and Lung Health” จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ และภาคีเครือข่าย อาทิ สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาพันธ์เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อคนไทยปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การดำเนินงาน และพัฒนาเครือข่ายนักวิชาการด้านการควบคุมยาสูบและผู้ใช้ข้อมูลความรู้ ได้แก่ บุคลากรวิชาชีพสุขภาพ นักวิชาการ นักเรียนนักศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 600 คน
นายแพทย์สุขุม กล่าวว่า ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายลดอัตราการบริโภคยาสูบลงอย่างน้อยร้อยละ 30 ในปี 2568 ตามเป้าหมายการลดการตายจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (The 9 global targets for NCD : 2025) และเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในอีก 15 ปีข้างหน้า (2559-2573) ตามกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) นำไปสู่การปฏิบัติตามเป้าหมายสูงสุด 3 ประการ คือ การลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ การลดปริมาณการสูบบุหรี่ต่อคน และการทำให้สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถในการควบคุมยาสูบของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สอง พ.ศ. 2559 – 2562 เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ เน้นในกลุ่มเยาวชน เนื่องจากมีเยาวชนไทยประมาณ 2 ถึง 3 แสนคน เป็นผู้ติดบุหรี่หน้าใหม่ ทดแทนผู้สูบบุหรี่แล้วเสียชีวิตหรือเลิกสูบไป ซึ่งในอนาคตจะส่งผลให้มีผู้เจ็บป่วยผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และกระทบภาคเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น
“สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือ การพัฒนาการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลข่าวสารงานวิจัยด้านการควบคุมยาสูบ การประเมินผล และการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการควบคุมยาสูบ รวมถึงการสร้างและพัฒนานักวิจัยและการจัดกวันที่ 20 มิถุนายน 2562 ที่โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา กรุงเทพมหานคร ารความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราการสูบบุหรี่และสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้” นายแพทย์สุขุมกล่าว
ทั้งนี้ สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยจำนวนกว่า 400,000 รายต่อปี มาจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และจากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ล่าสุด ปี พ.ศ. 2560 พบประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปสูบบุหรี่ร้อยละ 19.1 จากจำนวนผู้สูบสูงถึง 10.7 ล้านคน และอัตราการสูบบุหรี่ของเยาวชน ในช่วงปี 10 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น