ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (116 มม.) จ.สตูล (95 มม.) และ จ.สงขลา (66 มม.)
สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 8 พ.ย. 65 ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,283 ลบ.ม./วินาที และเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราประมาณ 1,128 ลบ.ม./วินาที โดยมีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์น้ำ จ.อุบลราชธานี 8 พ.ย. 65 สถานีวัดน้ำ M.7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 3,173 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำอยู่ที่ +113.52 ม.รทก สูงกว่าระดับตลิ่ง +1.52 ม.รทก โดยมีแนวโน้มลดลง
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 44,093 ล้าน ลบ.ม. (76%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,252 ล้าน ลบ.ม. (76%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ติดตามการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้
จากร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ส่งผลให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ในช่วง 4-7 พ.ย. 65 มีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จังหวัด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง โดยมีปริมาณฝนสะสม 3 วันสุงสุดที่จังหวัดสงขลา 347 มม. พัทลุง 337 มม. และนครศรีธรรมราช 331 มม.ทั้งนี้เขื่อนบางลางได้เตรียมความพร้อมในการรับมือฤดูฝนในภาคใต้ โดยปรับเพิ่มการระบายน้ำจาก 4 ล้าน ลบ.ม./วัน เป็น 6 ล้าน ลบ./วัน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต.ปะกาฮะรัง อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี จึงปรับลดการระบายน้ำลงมาที่ 4 ล้าน ลบ.ม./วัน เพื่อลดผลกระทบจนกว่าสถานการณ์ในพื้นที่กลับสู่ภาวะปกติ และจะมีแผนปรับการระบายน้ำเพิ่มเป็น 12 ล้าน ลบ.ม./วัน ต่อไป
กอนช. กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและลดผลกระทบสถานการณ์อุทกภัยได้ทันท่วงที