🧐มาทำความรู้จัก อุปกรณ์ฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้า วันนี้แอดมินจะมาแนะนำอุปกรณ์ฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้าว่าอยู่บริเวณไหน และใช้งานอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินครับ
🔔ปุ่มกระดิ่ง หรือ Passenger Communication Unit (PCU) ปุ่มกด อยู่ด้านล่างของชุด (PER) โดยติดตั้งบริเวณประตู มีช่องลำโพง และช่องรับเสียงไว้เพื่อติดต่อ กับเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า หากเกิดกรณีพบผู้ป่วย หรือคนเป็นลม หรือเหตุฉุกเฉินภายในขบวน ให้กดปุ่มกระดิ่งแจ้งเจ้าหน้าที่ บอกตำแหน่งตู้โดยสารที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าควบคุมรถไฟฟ้าที่จะทำการประสานให้ความช่วยเหลือในสถานีถัดไปครับ
⚠️คันโยกเปิดประตูในกรณีฉุกเฉิน Passenger Emergency Release (PER) ใช้เปิดประตูรถไฟฟ้าเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในขณะรถหยุดนิ่งเท่านั้น ติดตั้งอยู่บริเวณด้านซ้ายของประตูทุกบาน มีคำแนะนำการใช้งานที่ถูกต้องติดอยู่ที่ตัวอุปกรณ์ ใช้ในกรณีที่ต้องการเปิดประตูรถไฟฟ้าเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในขณะที่รถหยุดนิ่งเท่านั้น มีโทษปรับถ้าใช้ในเหตุอันไม่สมควร เพราะจะส่งผลต่อการเดินรถ และอาจทำให้เกิดความล่าช้าได้ครับ
🧯อุปกรณ์ถังดับเพลิง ติดตั้งอยู่บริเวณใต้ที่นั่งใช้ภายใต้คำแนะนำ และการควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่นะครับ ห้ามนำมาใช้เองโดยพลการเด็ดขาด
😇 แอดมินขอฝากไว้เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้อง และถูกวิธีสำหรับผู้โดยสารทุกคนนะครับ
👨🏻🔧เพราะความปลอดภัยของทุกคน คือสิ่งแรกที่บีทีเอสให้ความสำคัญที่สุดครับ
📲หากต้องการความช่วยเหลือ อยากสอบถามข้อมูล 👉🏻 bit.ly/2TUzZXH