นายไมตรี อินทุสุต ประธานบอร์ด พอช.- ผวจ.อุตรดิตถ์ และเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน ร่วมพิธี ยกเสาเอก ‘บ้านมั่นคงห้องสูง’ อ.ลับแล สร้างบ้านใหม่ 40 ครัวเรือนบนที่ดินกรมธนารักษ์ สัญญาเช่าระยะยาว 30 ปี โดยหน่วยงานในท้องถิ่นให้การสนับสนุนด้านสาธารณูปโภค เช่น ประปา ไฟฟ้า ขณะที่ พอช. สนับสนุนงบประมาณและสินเชื่อ 11 ล้านบาทเศษ ตามที่รัฐบาลมอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มีเป้าหมาย เพื่อให้คนไทยทุกครอบครัวมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงภายในปี 2579 โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ สนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประชาชนประมาณ 1 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ โดยดำเนินงานตามแผนงาน บ้านมั่นคงเมืองและชนบท โครงการบ้านพอเพียงชนบท การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง คนไร้บ้าน ฯลฯ ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานมีความคืบหน้าเป็นลำดับ
วันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ที่บ้านห้องสูง ต.ชัยจุมพล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ สหกรณ์เคหสถานบ้าน มั่นคงอุตรดิตถ์ จำกัด เครือข่ายบ้านมั่นคงเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ สภาองค์กรชุมชนตำบลชัยจุมพล ขบวนองค์กร ชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดพิธียกเสาเอกเพื่อสร้างบ้านใหม่ ‘สหกรณ์ เคหสถานบ้านมั่นคงอุตรดิตถ์ จำกัด’ จำนวน 40 ครัวเรือน โดยมี นายไมตรี อินทุสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นประธานในพิธี มี นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการ จังหวัดอุตรดิตถ์ นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ และผู้แทนหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เช่น กรมธนารักษ์ อำเภอลับแล รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาชนเข้าร่วมในพิธีประมาณ 300 คน
นายไมตรี อินทุสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวว่า การขับเคลื่อนงาน พัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนที่มีรายได้น้อยของ พอช.เป็นนโยบายของรัฐบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเสมอภาค ความเป็นธรรม และการเข้าถึงโอกาส โดยจะไม่ ทิ้งให้ใครอยู่ข้างหลัง รวมทั้งคำนึงถึงเป้าหมายการพัฒนาของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นสำคัญ
“โครงการบ้านมั่นคงที่จังหวัดอุตรดิตถ์นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี ที่ พอช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายภายในปี 2579 ว่า ‘ประชาชน ไทยทุกครัวเรือนจะมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง’ และนอกจากการสร้างบ้านแล้ว จะต้องมีการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำให้ชุมชนมีความสะอาด สวยงาม มีการส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการออมทรัพย์ การจัดสวัสดิการชุมชน และ พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างรอบด้าน เพื่อให้พี่น้องประชาชนและลูกหลานมีความสุขอย่างยั่งยืน” นายไมตรีกล่าว
นางสาวธีรยา มาบุญลือ ประธานคณะกรรมการสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงอุตรดิตถ์ จำกัด กล่าวว่า โครงการบ้านมั่นคงที่บ้านห้องสูง ตำบลชัยชุมพล เกิดจากการรวมตัวกันของประชาชนที่มีความเดือดร้อนเรื่องที่ อยู่อาศัย เนื่องจากไม่มีความมั่นคงในที่ดิน เช่น อาศัยอยู่ในที่ดินวัด ที่ดินกรมธนารักษ์ การรถไฟแห่งประเทศ ไทย กรมชลประทาน นอกจากนี้ ชุมชนยังมีสภาพแออัด บ้านเรือนทรุดโทรม ไม่มั่นคงแข็งแรง ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน อาชีพรับจ้างทั่วไป และค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ชาวบ้านที่เดือดร้อนจึงรวมตัวกันเป็น ‘สหกรณ์ เคหสถานบ้านมั่นคงอุตรดิตถ์ จำกัด’ เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น โดยมี หน่วยงานต่างๆ ร่วมให้การสนับสนุน เช่น จังหวัดอุตรดิตถ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประสานงานเพื่อขอเช่าที่ดินราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ บริเวณบ้านห้องสูง หมู่ 3 ต.ชัยจุมพล อ.ลับแล เนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 48 ตารางวา เป็นที่ก่อสร้างบ้านใหม่ จำนวน 40 ครัวเรือน ระยะเวลาเช่า 30 ปี (1 มกราคม 2562 – 31 ธันวาคม 2591) สถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชนฯ สนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการบ้านมั่นคงเมือง จำนวน 11,644,820 บาท นอกจากนี้สหกรณ์ฯ ยังได้ประสานขอรับการสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคจากหน่วยงานรัฐในพื้นที่ด้วย เช่น ประปา ไฟฟ้า ฯลฯ
สาหรับแบบบ้านที่จะก่อสร้างใหม่ มี 3 แบบ เป็นบ้านแฝดชั้นเดียวขนาด 4X7 เมตร เป็นบ้านแฝดชั้นเดียวขนาด 5X8 เมตร เป็นบ้านแฝดสองชั้นขนาด 5X8 เมตร ตั้งบนที่ดินขนาด 24 ตารางวา ต่อคนต่อแปลง โดยมีรายละเอียดการสนับสนุนจาก พอช. เช่น สาธารณูปโภค 2 ล้านบาท เงินอุดหนุน 1 ล้านบาท สินเชื่อ รวม 8,544,820 บาท ระยะเวลาผ่อน 15 ปี และแผนงานสร้างบ้านคาดว่าจะเสร็จภายใน 1 ปี
นายสุพัฒน์ จันทนา ผู้อำนวยการสำนักงานภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวว่า การ พัฒนาที่อยู่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2538-2543 โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง (ปัจจุบัน คือ พอช.) ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดอุตรดิตถ์สนับสนุนการสร้างบ้านใหม่ของชาวชุมชน 8 ครอบครัวที่ อาศัยอยู่ริมคลองโพ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยชาวบ้านได้ร่วมกันออมทรัพย์วันละ 15 บาท และเช่าที่ดินจากวัด เพื่อสร้างบ้านใหม่ในราคาหลังละ 40,000 บาท จนกลายเป็นต้นแบบในการพัฒนาที่อยู่อาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ ช่วงปี 2544–2556 พอช. และเครือข่ายองค์กรชุมชนเมืองอุตรดิตถ์ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นทำการสำรวจข้อมูลผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยในเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ พบว่ามีผู้เดือดร้อน 18 ชุมชน จานวน 1,036 ครัวเรือน โดย พอช.และภาคีเครือข่ายได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย แบ่งเป็น 1) การย้ายชุมชนไป สร้างบ้านในที่ดินใหม่ จำนวน 124 ครัวเรือน ซึ่งกระจายมาจาก 18 ชุมชน และ 2) ปรับปรุงที่อยู่อาศัยในที่ดิน เดิม 13 ชุมชน จานวน 912 ครัวเรือน
“จนถึงขณะนี้ พอช.และภาคีเครือข่ายได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคง เมืองอุตรดิตถ์ ไปแล้ว รวมทั้งหมด 4 เมือง 17 โครงการ คือ ในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 1,036 ครัวเรือน ในเทศบาลตาบลในเมือง อำเภอพิชัย 215 ครัวเรือน , อบต.หาดล้า อำเภอท่าปลา 33 ครัวเรือน , อบต.ชัยจุมพล อำเภอลับแล 40 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 1,324 ครัวเรือน ส่วนที่เหลือจะดำเนินการต่อไป โดย พอช.จะ ประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่ดูแลที่ดิน เพื่อนำที่ดินรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาให้ชาวชุมชนเช่าเพื่อก่อสร้างบ้าน มั่นคงต่อไป” นายสุพัฒน์กล่าว
สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดบ้านมั่นคงทั่วประเทศใน ปีงบประมาณ 2562 มีเป้าหมาย 5,500 ครัวเรือน ขณะนี้ (ตุลาคม 2561-มีนาคม 2562) ดำเนินการแล้ว 3, 335 ครัวเรือนโครงการบ้านพอเพียงชนบทเป้าหมาย 11,500 ครัวเรือน ขณะนี้ ดำเนินการแล้ว 12,543 ครัวเรือน โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง (ดาเนินงานต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 ในพื้นที่คลองลาดพร้าว) เป้าหมาย 7,069 ครัวเรือน ขณะนี้ดำเนินการแล้ว 3,084 ครัวเรือน ฯลฯ
ส่วนผลการดำเนินโครงการบ้านมั่นคงตั้งแต่ปี 2546-2561 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ได้ดำเนินการ ในพื้นที่ 76 จังหวัด จานวน 353 เมือง รวม 931 โครงการ ครอบคลุม 2,061 ชุมชน ทำให้ประชาชนมีที่ อยู่อาศัยที่มั่นคงรวม 100,216 ครัวเรือน