“บิ๊กป้อม” พบผู้ประกอบการ ในงาน “น้ำบาดาลเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจไทย”

Featured Video Play Icon

“บิ๊กป้อม” พบผู้ประกอบการ ในงาน “น้ำบาดาลเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจไทย” รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ พบผู้ประกอบการน้ำบาดาล ในงานประชุมสร้างภาคีเครือข่าย “น้ำบาดาลเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจไทย” ชู “น้ำบาดาล” เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ขับเคลื่อนการผลิตภาคธุรกิจอุตสาหกรรม พร้อมหนุนการส้ารวจหาแหล่งน้ำบาดาลใหม่ในระดับลึกที่มีศักยภาพสูงและคุณภาพดีเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำและรองรับความต้องการใช้น้ำในอนาคต

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานเปิดการประชุมสร้างภาคีเครือข่ายผู้ประกอบกิจการน้้าบาดาล ภายใต้แนวคิด “น้ำบาดาลเพิ่มมูลค่าพัฒนาเศรษฐกิจไทย”

โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายศักดิ์ดา  วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้้าบาดาล พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำบาดาลในกระบวนการผลิต มาร่วมให้การต้อนรับ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยมีธุรกิจภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีการใช้น้ำบาดาลในกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะ เป็นเครื่องดื่ม อาหารและยา ฟอกย้อม สิ่งทอ ฟอกหนัง กระดาษ ยางรถยนต์ งานอิเล็กทรอนิกส์ ห้องเย็นผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ และอื่นๆ และมีแนวโน้มการใช้น้ำบาดาลเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปีซึ่งรัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

โดยเฉพาะน้ำบาดาลที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนและเป็นปัจจัยหลักขับเคลื่อนการผลิตของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น รัฐบาลได้ให้การสนับสนุน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลสำรวจหาแหล่งน้ำบาดาลใหม่ในระดับ ความลึกมากกว่า 600-1,000 เมตรขึ้นไป ที่มีศักยภาพสูงและคุณภาพดีรวมถึงการขยายพื้นที่ส้ารวจหาแหล่งน้ำบาดาลบนเกาะต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ช่วยสร้างความมั่นคงด้าน ทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับการลงทุน และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการ

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้น้ำบาดาลในภาคธุรกิจมีจ้านวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นหน่วยงานที่ก้ากับดูแลการประกอบกิจการน้้าบาดาลตามพระราชบัญญัติน้้าบาดาล พ.ศ. 2520 จึงได้จัดการประชุมสร้างภาคีเครือข่ายผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล ภายใต้แนวคิด “น้ำบาดาลเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจไทย” ครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีความมั่นใจในการใช้น้ำบาดาลอย่างมั่นคงและยั่งยืน เสริมสร้างองค์ความรู้ ด้านการประกอบกิจการน้ำบาดาล สร้างความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำบาดาล

โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำบาดาลในกระบวนการผลิต
รวมทั้งสิ้นกว่า 1,200 ราย ร่วมประชุมสร้างภาคีเครือข่ายผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล โดยในภาคเช้ามีการเสวนา
เรื่อง “น้ำบาดาลเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจไทย” ได้รับเกียรติจากวิทยากร จ้านวน 4 ท่าน

ได้แก่ รศ.ดร.เจษฎา แก้วกัลยาผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรน้ำ ในคณะกรรมการทรัพยากรน้้าแห่งชาติ ดร.อรนุช หล่อเพ็ญศรี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธันยพัฒน์ มั่นณิชนันทน์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เลขาธิการสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน และ ดร.ศรัณยู อินทาทอง ผู้อ้านวยการฝ่ายขายและการตลาดวิวัลก้า และผู้จัดการโรงงานบริษัท ทีทีซีน้้าดื่มสยาม จำกัด โดยมี นางสาวชุติมา พึ่งความสุข ทำหน้าที่ดำเนินการเสวนาส่วนในภาคบ่ายมีการบรรยายอีก 2 หัวข้อ ดังนี้

“การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล และหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520” โดย ดร.รวมทรัพย์ คะเนะดะ ผู้อ้านวยการส้านักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และ “ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) สำหรับการประกอบกิจการ น้ำบาดาล” โดย นายสุชาติ ชินวรรณโชตินักธรณีวิทยาช้านาญการพิเศษ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีบ่อน้ำบาดาล มากกว่า 200,000 บ่อ แบ่งเป็น บ่อราชการ จ้านวน 82,000 บ่อ และบ่อเอกชน จ้านวน 120,000 บ่อ มีปริมาณการใช้น้ำบาดาลปีละกว่า 14,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อใช้ประกอบกิจการในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีมากกว่า 31,000 บ่อ มีสัดส่วนการใช้น้ำบาดาลปีละกว่า 380 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาครัฐสามารถจัดเก็บรายได้ค่าใช้น้ำบาดาลปีละกว่า 1,680 ล้านบาท ซึ่งน้ำบาดาล นำไปใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

โดยเฉพาะภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีการใช้น้ำบาดาลเป็นวัตถุดิบ ในกระบวนการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนมาก อาทิ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม สิ่งทอ กระดาษ ปูนซีเมนต์ ที่พักแรม และอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ในปี 2564 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจากภาคธุรกิจ ที่มีการใช้น้ำบาดาลมีมูลค่าถึง 7.6 ล้านล้านบาท (ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศมีมูลค่า 16.2 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ

ดังนั้น ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลทุกท่าน จึงเปรียบเสมือนลูกค้าของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เนื่องจากเป็นผู้ขออนุญาตใช้น้ำบาดาลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีการช้าระค่าใช้น้ำบาดาล รวมถึงค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล (กรณีเป็นผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่อยู่ในพื้นที่เขต วิกฤตการณ์น้ำบาดาล 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม) เพื่อส่งคืนเป็นรายได้แผ่นดินที่สามารถน้าไปพัฒนาประเทศต่อไป