นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนพฤษภาคม 2565 เท่ากับ 106.62 (ปี 2562 = 100) สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 7.10 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับหลายประเทศที่เงินเฟ้อสูงขึ้น โดยประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป ตัวเลขเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก โดยมีสาเหตุจากอุปสงค์ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การตึงตัวของอุปทาน และมาตรการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ ทำให้อุปทานไม่สมดุลกับอุปสงค์มากขึ้น สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมถึงประเทศไทย อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยยังสูงไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศดังกล่าว เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ในขณะที่ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นจากผลของราคาพลังงานและอาหารในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง
อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 7.10 (YoY) ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยสินค้ากลุ่มพลังงาน ทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก การยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้มทำให้ราคาทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได และการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) นอกจากนี้ ฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างต่ำ จึงมีส่วนทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 7.10 อย่างไรก็ตาม ข้าวสาร เครื่องนุ่งห่ม ค่าเช่าบ้าน การศึกษา ราคายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐาน อยู่ที่ร้อยละ 2.28 (YoY) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สินค้าสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 7.10 (YoY)
กลุ่มพลังงาน สูงขึ้นร้อยละ 37.24 โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึงร้อยละ 35.89 ปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก ค่ากระแสไฟฟ้า สูงขึ้นร้อยละ 45.43 ตามการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม 2565 และราคาก๊าซหุงต้ม สูงขึ้นร้อยละ 8.00 จากการทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ตั้งแต่เดือนเมษายนไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2565
กลุ่มอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 6.18 อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการเลี้ยง ผักสดราคาเปลี่ยนแปลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด ส่วนเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาปรับขึ้นตามต้นทุน
สินค้าอื่น ๆ อาทิ ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (แชมพู ยาสีฟัน สบู่ถูตัว) ราคาปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากสิ้นสุดโปรโมชั่น นอกจากนี้ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยารีดผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (บุหรี่ เบียร์ สุรา) ราคาทยอยปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ขณะที่สินค้าสำคัญอีกหลายรายการราคายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 2.81 โดยเฉพาะราคาข้าวสาร ราคาปรับลดลงเนื่องจากปริมาณผลผลิตมีจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา
การศึกษา ลดลงร้อยละ 0.65 ตามค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ปรับลดลงทุกระดับชั้น
เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.06 (กางเกงขายาวบุรุษ และเสื้อสตรี) ราคาเปลี่ยนแปลงตามการจัดโปรโมชั่นเป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2565 อยู่ที่ร้อยละ 1.40 (MoM) จากการสูงขึ้นเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มพลังงาน ผลไม้สด เนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร และของใช้ส่วนบุคคล
และเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ร้อยละ 5.19 (AoA)
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนพฤษภาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 13.3 (YoY) เป็นการปรับสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ซึ่งมีสินค้ากลุ่มปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง สาเหตุเกิดจาก ราคาพลังงาน ค่าขนส่ง และราคาวัตถุดิบนำเข้า รวมทั้งเงินบาทที่อ่อนค่า และต้นทุนการผลิตอื่น ๆ ขณะที่ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศอยู่ในระดับสูง ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง สูงขึ้นร้อยละ 6.5 (YoY) สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง อาทิ สินค้าในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ผลิตภัณฑ์คอนกรีต อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา
ขณะที่ต้นทุนการผลิตยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน และอลูมิเนียม ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.7 เทียบกับระดับ 45.7 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่ปรับสูงขึ้น ประกอบกับมาตรการบรรเทาค่าครองชีพภาครัฐบางมาตรการได้สิ้นสุดลง และการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จะเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยได้ในระยะต่อไป
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ เดือนมิถุนายน 2565 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงมีการขยายเพดานการตรึงราคาน้ำมันดีเซล การปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) เพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้ และการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) นอกจากนี้สินค้าอุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะอาหารสดและอาหารสำเร็จรูปที่ปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต รวมถึงต้นทุน
การขนส่งและโลจิสติกส์ การระงับการส่งออกสินค้าในหลายประเทศ และอุปสงค์ที่เริ่มฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว และการส่งออก จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เงินเฟ้อทั่วไปของไทยยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วไปของไทย ปี 2565 จะเคลื่อนไหวในกรอบร้อยละ 4.0 – 5.0 (ค่ากลางอยู่ที่ 4.5) ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนพฤษภาคม 2565
ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนพฤษภาคม 2565 เท่ากับ 106.62 (ปี 2562 = 100) สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 7.10 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยสินค้ากลุ่มพลังงาน ทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก การยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้มทำให้ราคาทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได และการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) สำหรับสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกกลุ่มสินค้า ยกเว้นข้าวสารราคาลดลง ขณะที่เครื่องนุ่งห่ม ค่าเช่าบ้าน
การศึกษา ราคายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดการเคลื่อนไหว ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 6.18 ได้แก่
กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 10.45 (เนื้อสุกร ไก่สด เนื้อโค)
กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 9.39 (ไข่ไก่ นมผง นมสด)
กลุ่มผักสด สูงขึ้นร้อยละ 3.69 (พริกสด แตงกวา มะเขือ)
กลุ่มผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 1.43 (ส้มเขียวหวาน ทุเรียน องุ่น)
กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 10.41 (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง)
กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.19 (กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำปั่นผลไม้/ผัก)
กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 6.84 (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว)
กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 6.28 (อาหารเช้า ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง)
ขณะที่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 2.81 (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว แป้งข้าวเจ้า)
หมวดสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 7.74 ได้แก่
– หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 13.14 (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ)
– หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 6.65 (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม)
– หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 1.09 (แชมพู ยาสีฟัน สบู่ถูตัว)
– หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.21 (บุหรี่ เบียร์ สุรา)
– ขณะที่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.06 (กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรี เสื้อเชิ้ตสตรี)
– หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ ลดลงร้อยละ 0.65 (ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา)
ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2565 สูงขึ้นร้อยละ 1.40 (MoM) และเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.)
ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.19 (AoA)
ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนพฤษภาคม 2565
ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนพฤษภาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 13.3 (YoY) จากร้อยละ 12.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง (เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี) ซึ่งราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาในตลาดโลก จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน มาตรการคว่ำบาตรของนานาประเทศ ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่า นอกจากนี้ สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบมีน้อย ขณะที่ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศอยู่ในระดับสูง โดยมีรายละเอียดการเคลื่อนไหว ดังนี้
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 77 (ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และกลุ่มแร่ (แร่สังกะสี เหล็ก ดีบุก และวุลแฟรม))
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 11.8 ได้แก่
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91, 95 น้ำมันเตา ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) น้ำมันก๊าด ยางมะตอย)
กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร (เนื้อสุกร ไก่สด น้ำมันปาล์ม มันเส้น ปลาทูน่ากระป๋อง น้ำสับปะรด น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป น้ำตาลทราย)
กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี (เม็ดพลาสติก โซดาไฟ ปุ๋ยเคมีผสม)
กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ (อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์))
กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ (ทองคำ)
กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ (รถยนต์นั่ง รถบรรทุก ชิ้นส่วนรถยนต์)
กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (ยางแท่ง ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ ท่อพลาสติก แผ่นฟิล์มพลาสติก ข้อต่อพลาสติก)
กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ (เครื่องสูบน้ำ เครื่องเก็บเกี่ยวที่ใช้ในการเกษตร)
กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน (เหล็กแผ่น เหล็กเส้น ท่อเหล็ก เหล็กลวด)
กลุ่มสิ่งทอ (สิ่งทอจากฝ้าย สิ่งทอจากใยสังเคราะห์)
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ (คอนกรีตผสมเสร็จ เสาเข็มคอนกรีต กระเบื้องปูพื้น-บุผนัง ท่อคอนกรีต แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป)
กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ (ประตูเหล็ก กระป๋อง กุญแจ ตะปู/สกรู/น๊อต ถังเก็บน้ำ หน้าต่างและประตูอลูมิเนียม)
กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (กระดาษคร๊าฟท์ กล่องกระดาษ เยื่อกระดาษ)
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 7.5 ได้แก่
กลุ่มไม้ยืนต้น (ผลปาล์มสด ยางพารา)
กลุ่มพืชล้มลุก (อ้อย หัวมันสำปะหลังสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์)
กลุ่มสัตว์ (สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ ไข่เป็ด)
กลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง (ปลาหมึกกล้วย กุ้งแวนนาไม กุ้งทะเล ปูม้า ปลาช่อน ปลาดุก)
ขณะที่สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเหนียว ผลไม้ (กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ มังคุด เงาะ)
ดัชนีราคาผู้ผลิต เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2565 สูงขึ้นร้อยละ 1.0 (MoM) และเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 11.1 (AoA)
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนพฤษภาคม 2565
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนพฤษภาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 6.5 (YoY) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจาก
เดือนเมษายน ที่สูงขึ้นร้อยละ 8.8 (YoY) เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกเริ่มมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก (น้ำมัน ถ่านหิน อลูมิเนียม) ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในต่างประเทศ ประกอบกับการลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิต ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาวัตถุดิบนำเข้าปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีรายละเอียดการเคลื่อนไหว ดังนี้
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 10.1 (เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย ท่อเหล็กลวดผูกเหล็ก)
หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 7.6 (ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนฉาบสำเร็จรูป)
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 6.8 (อลูมิเนียม ยางมะตอย)
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 5.7 (ชีทไพล์คอนกรีต ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีต คอนกรีตบล็อกก่อผนังมวลเบา คอนกรีตผสมเสร็จ)
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 4.4 (แผ่นไม้อัด ไม้แบบ ไม้คาน ไม้โครงคร่าว ไม้พื้น ไม้ฝา)
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 4.1 (กระเบื้องแกรนิต กระเบื้องยาง PVC ปูพื้น บัวเชิงผนัง PVC กระเบื้องลอนคู่)
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 3.5 (ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์ PVC สายไฟฟ้า VCTท่อ PVC ประตูน้ำ)
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 1.1 (สีรองพื้นโลหะ ซิลิโคน)
หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 (ฝักบัวอาบน้ำ กระจกเงา ราวแขวนผ้าติดผนัง ที่ใส่กระดาษชำระ ฉากกั้นห้องอาบน้ำสำเร็จรูป)
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2565 ลดลงร้อยละ 0.1 (MoM) และเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.)ปี 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 7.4 (AoA)
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนพฤษภาคม 2565
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤษภาคม 2565 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.7 เทียบกับระดับ 45.7 ในเดือนก่อนหน้า ปรับตัวลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวลดลงจากระดับ 36.4 มาอยู่ที่ระดับ 35.2 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลงจากระดับ 52.0 มาอยู่ที่ระดับ 51.0
ทั้งนี้ เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐสิ้นสุดลง และการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวของไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้นภายหลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ และมูลค่าการส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ยังคงเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยเฉพาะความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ที่อยู่ในช่วงที่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า
ด้านเศรษฐกิจไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.45
ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 13.31
ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 21
ด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 11.02
ด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 7.99
ด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 5.19
ด้านการเมือง คิดเป็นร้อยละ 4.75
ด้านสังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 3.76
ด้านอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.33
โดยกลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นดีขึ้น มองว่า เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนความเชื่อมั่น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นลดลง โดยเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจไทย ภัยพิบัติ/โรคระบาด และผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายภาค พบว่า ปรับลดลงทุกภูมิภาค โดยมีรายละเอียดดังนี้
ภาคกลาง ลดลงจากระดับ 46.2 มาอยู่ที่ระดับ 5
ภาคใต้ ลดลงจากระดับ 47.0 มาอยู่ที่ระดับ 8
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงจากระดับ 47.3 มาอยู่ที่ระดับ4
ภาคเหนือ ลดลงจากระดับ 43.8 มาอยู่ที่ระดับ 2
กรุงเทพฯ และปริมณฑล ลดลงจากระดับ 7 มาอยู่ที่ระดับ 40.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกอาชีพ พบว่า ปรับลดลงเกือบทุกอาชีพ โดยมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มผู้ประกอบการ ลดลงจากระดับ 46.2 มาอยู่ที่ระดับ 45.6
กลุ่มพนักงานเอกชน ลดลงจากระดับ 43.9 มาอยู่ที่ระดับ 42.5
กลุ่มรับจ้างอิสระ ลดลงจากระดับ 43.4 มาอยู่ที่ระดับ 42.5
กลุ่มนักศึกษา ลดลงจากระดับ 43.0 มาอยู่ที่ระดับ 41.6
กลุ่มเกษตรกร ลดลงจากระดับ 46.9 มาอยู่ที่ระดับ 45.7
กลุ่มพนักงานของรัฐ ลดลงจากระดับ 52.1 มาอยู่ที่ระดับ 7
ขณะที่กลุ่มไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 40.8 มาอยู่ที่ระดับ 41.9
เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.0 มาอยู่ระดับ 43.9