“เอนก” เปิดงาน มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565 อย่างยิ่งใหญ่ ดันยกระดับงานวิจัย-นวัตกรรมสู่การพัฒนาประเทศ

วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565 (Regional Research Expo 2022)”จัดขึ้นระหว่างวันที่​ 27-29​ พฤษภาคม​ 2565​ ณ​ มหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​อุดรธานี

​ โดยมี  ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “อว. กับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG เป็นฐานในการพัฒนาชาติ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงาน นายกองเอกปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และ​ นายอิทธิศักดิ์ ตันติสุทธาพงศ์​ อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าว​ต้อนรับ​

พร้อมด้วย​ ศาสตราจารย์​  ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล​ ปลัดกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม​ ​และผู้บริหารหน่วยงาน​ร่วม​จัด​ให้เกียรติเข้าร่วม​พิธี​เปิดงานในครั้งนี้​ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ​ “การพลิกโฉมกรอบนโยบายและแนวทางพัฒนากำลังคน อุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรมของประเทศกับการขับเคลื่อน BCG” โดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการตามนโยบาย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้บรรยาย และมีการเสวนาพิเศษ “การเตรียมความพร้อมของนักวิจัยเพื่อขอทุนวิจัยของประเทศ จากหน่วยงานให้ทุนวิจัยทั้ง 7 PMU”  พร้อมทั้งการประชุมเครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคอีสาน ร่วมด้วย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ” (Thailand Research Expo) เป็นพลังแห่งความร่วมมือ​ยกระดับ​ผลงานวิจัย​เพื่อแก้ปัญหา​ส่งเสริม​เศรษฐกิจ​ฐานราก​ อว.เป็นกระทรวง​หลักในการขับ​เคลื่อนการขยายผลการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ระดับพื้นที่ในวงกว้างและเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้น ให้กับบุคลากรจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนการ​ผนึก​กำลัง​นักวิจัย​ในแต่ละพื้นที่ก่อให้เกิดนักวิจัย​รุ่นใหม่​ การนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปพัฒนาหรือสร้างสรรค์

พร้อมทั้งต่อยอด ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศไปสู่ประเทศ​ที่พัฒนา​แล้ว รวมไปถึงบทบาทของ อว. ในการขับเคลื่อน BCG Model ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนช่วยเกษตรกรให้สามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและยังต่อยอดไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

โดยทั้งเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวภายในประเทศแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทรัพยากรคุณภาพของประเทศ สามารถลดต้นทุนการผลิต และการวิจัย อีกทั้งยังบริหารจัดการภายในได้อย่างรวดเร็วและมีมาตรฐานระดับสากลเพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำมุ่งสู่การพัฒนาในการประยุกต์โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG สร้างความเข้มแข็งและการสร้างรายได้ การพัฒนาท้องถิ่นอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป​

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค” วช. ได้จัดให้มีขึ้นโดยข้อเสนอแนะของผู้บริหารหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั้ง 4 ภูมิภาค เพื่อให้การนำเสนอผลงานวิจัยได้ขยายขอบเขตของการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในภูมิภาคต่างๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการจัดมา 9 ครั้ง โดยหมุนเวียนการจัดงานในภูมิภาคต่างๆ และมีมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาคเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน ซึ่งครั้งแรกจัดขึ้นในปี 2556 ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคแรก แล้วเวียนไปยังภาคเหนือ ภาคใต้ ตามลำดับ

ในการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค” ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และเครือข่ายวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม 2565 ภายใต้แนวคิดหลัก “นวัตกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอีสานอย่างยั่งยืน” โดยการจัดงานมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจภูมิภาค เศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่

ทั้งนี้ การจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565 (Regional Research Expo 2022)”   Highlight Stage เป็นเวทีหลักที่แสดงให้เห็นแนวคิดของการจัดงาน “นวัตกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอีสานอย่างยั่งยืน” กิจกรรม Research Clinic: R2R การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ประโยชน์จากงานวิจัยในภูมิภาคต่างๆ สู่การยกระดับศักยภาพผลงานวิจัยชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสู่การขับเคลื่อนตามหลักของนโยบายเศรษฐกิจ BCG เป็นฐานในการพัฒนาชาติที่ยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้​กิจกรรมภายในงาน​ ประกอบด้วย นิทรรศการโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,นิทรรศการการวิจัยของหน่วยงาน​ นักวิจัยในพื้นที่​, เครือข่ายการวิจัย​ในภูมิภาค​ ,นิทรรศการนำเสนอผลงานนานาชาติและประเทศเพื่อนบ้าน ,นิทรรศการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ,กิจกรรม Highlight Stage , พื้นที่ให้คำปรึกษาความรู้จากงานวิจัย ,ตลาดนัดผลงานวิจัยที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา , การประชุมเสวนา ตลอดทั้ง 3 วัน ใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย ห้องย่อยที่ 1 นวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อน BCG , ห้องย่อยที่ 2 BCG กับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคอีสาน และห้องย่อยที่ 3 การพลิกโฉม กรอบนโยบายและแนวทางพัฒนา กำลังคนอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรมของประเทศ กับการขับเคลื่อน BCG และพื้นที่นิทรรศการ Highlight เพื่อแสดงให้เห็นแนวคิดของการจัดงาน “นวัตกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอีสานอย่างยั่งยืน”