กรมสุขภาพจิตและหน่วยงานภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผนึกกำลัง ประสานความร่วมมือในการดูแลฟื้นฟู

กรมสุขภาพจิตและหน่วยงานภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผนึกกาลัง ประสานความร่วมมือในการดูแลฟื้นฟูผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวชในสถานรองรับของกระทรวง พม. ตามนโยบาย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

วันที่18 พฤษภาคม 2565 กรมสุขภาพจิตและหน่วยงานภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ร่วมลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดูแลฟื้นฟูผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวชในสถาน รองรับของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

โดยนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานการลงนาม ภายใต้นโยบายเพื่อฟื้นฟูผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวชได้รับการส่งเสริม ป้องกัน บำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพครอบคลุมทุกมิติ สามารถประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตในสังคมร่วมกับคนทั่วไป พัฒนาคุณภาพชีวิตตาม นโยบายไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ยินดีที่ได้เห็นความ ร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. กับกรมสุขภาพจิตในครั้งนี้ รัฐบาลมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวชในสถาน รองรับของ พม. อย่างมาก ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานของ พม. ได้หารือร่วมกับกรมสุขภาพจิต ถึงการกาหนดแนวทางแก้ไขปัญหา กลุ่มผู้ที่มีอาการทางจิตเวชในสถานรองรับของ พม. ทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกรมสุขภาพจิต การดูแลฟื้นฟูผู้ใช้บริการที่มีอาการทางจิตเวชในสถานรองรับของ พม. จากความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับการดูแล ฟื้นฟูอย่างถูกต้องเหมาะสมจากบุคลาการทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมต่อไปได้ ซึ่งถือเป็นการยกระดับคุณภาพ ชีวิตกลุ่มคนเปราะบางเหล่านี้ ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์การให้บริการในสถานรองรับของกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าในปี 2565 ผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชมีจำนวนสูงถึง 6,015 ราย คิดเป็น ร้อยละ 61.22 ซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความหลากหลาย และซ้าซ้อนของสภาพปัญหา บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าถึง ระบบบริการดูแลสุขภาพจิตอย่างเท่าเทียม และเป็นธรรม ตลอดจนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายคือหายทุเลาจากโรค ทางจิตเวช ไม่กลับเป็นซ้ำ เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม

ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้กรมสุขภาพจิตจะดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวช ที่สิ้นสุดการรักษาและขาดการสนับสนุนทางสังคม อันได้แก่ คนไร้ญาติ หรือญาติขาดความพร้อมในการดูแล เพื่อเข้ารับการฟื้นฟู สมรรถภาพที่สถานรองรับของกระทรวง พม. ตามศักยภาพของผู้ป่วยและภารกิจของสถานรองรับ รวมไปถึงการประสานเครือข่าย สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ในการดูแลรักษาสุขภาพจิตและรับส่งต่อตามระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชเมื่อเกิดกรณีวิกฤต ฉุกเฉินทางจิตเวชตามมาตรฐานบริการสุขภาพจิตและจิตเวช

กรมสุขภาพจิต และหน่วยงานภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะยั่งยืนและบรรลุเจตนารมณ์ร่วมกันในการดูแลฟื้นฟูผู้ใช้บริการจิตเวชในสถานรองรับของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ให้สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

โดยในปีนี้ได้มีการนำร่องโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ป่วยจิตเวชในสถานรองรับ จานวน 11 แห่ง ซึ่ง ปัจจุบันได้ดำเนินการให้บริการผ่านระบบการแพทย์ทางไกลไปแล้ว 3 ครั้ง โดยให้บริการผู้ป่วยไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 84 ราย และจะขยายผลการบำบัดรักษาด้วยนาโนเทคโนโลยีด้านระบบบริการการแพทย์ทางไกล จิตแพทย์และทีมสหวิชาชีพ ในสถาบัน/โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตทั้ง 20แห่งที่เป็นคู่เครือข่ายในการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวต่อไปและจะทำการขยายไปยังเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อให้เกิดการบริการผู้ป่วยจิตเวชอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

*********************** 18 พฤษภาคม 2565