ภารกิจหลักของบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คือ ให้บริการ รักษาพยาบาลทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งนอกและในโรงพยาบาล ภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ พญ.จันทิรา แก้วสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ด้านการแพทย์ฉุกเฉินและบริการสาธารณสุข บอกเล่าถึงการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งในและนอกโรงพยาบาล รวมถึงให้บริการออกหน่วยต่าง ๆ และติดต่อส่งตัวผู้ป่วยในกรณีการรักษาต่อเนื่องหรือการรักษานั้นเกินศักยภาพโรงพยาบาลโดย ส่งต่อการรักษาตามสิทธิของผู้ป่วยนั้น ๆ
พญ.จันทิรา กล่าวว่า ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service System หรือ EMSS) ตามโรงพยาบาลส่วนใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นหน่วยกู้ชีพขั้นสูง หรือที่เรียกว่า Advanced Life Support (ALS)ซึ่งหัวหน้าทีมจะเป็นแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินหรือแพทย์ทั่วไปแต่เวลาออกปฏิบัติการจริง เนื่องจากแพทย์ยังมีน้อยอยู่จึงอาจมีพยาบาลวิชาชีพ หรือนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์(Paramedic) เป็นหัวหน้าทีม โดยหน่วยกู้ชีพขั้นสูงจะออกไปดูแลผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤตฉุกเฉินตามที่โทรแจง้ มาที่ศูนย์ 1669 ด้วยการไปให้การรักษาหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนจะนำส่งไปยังโรงพยาบาลที่เหมาะสมกับอาการของ ผู้ป่วยนั้น ๆ กรณีผู้ป่วยที่อาจไม่ต้องนำส่งโรงพยาบาล แต่หากมีผู้ป่วยอาการหนักทีมที่ออกไปต้องพิจารณาว่า โรงพยาบาลที่มีศักยภาพเหมาะสมในการรักษาผู้ป่วยรายนั้น ควรจะเป็นที่ใด… ที่อยู่ใกล้ที่สุด ซึ่งเป็นไปตามระบบของกระทรวงสาธารณสุขที่ ได้วางไว้เพื่อดูแลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่อยู่นอกโรงพยาบาลให้มีคุณภาพ ปลอดภัยและรวดเร็วที่สุด
หน่วยกู้ชีพขั้นสูง (ALS) ของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากมีหัวหน้าทีมที่อาจจะเป็นพยาบาลวิชาชีพหรือนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์แล้ว สมาชิกคนอื่น ๆ จะประกอบด้วย เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (จฉพ.) หรือEmergency Medical Technician (EMT) ที่อาจเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรืออาสาสมัคร ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรเป็นเวลา 115 ชั่วโมง หรือเจ้าหน้าที่มูลนิธิอาสาต่าง ๆ กู้ชีพกู้ภัยที่เข้ารับการอบรมหลักสูตร EMR (Emergency MedicalResponder) เป็นเวลา 40 ชั่วโมง ที่เรียนรู้เรื่องงการดูแลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ถูกวิธี เพื่อไม่ให้อาการทรุดลง และสามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้ หากผู้ป่วยมีอาการหนักก็จะแจ้งมาที่ศูนย์สั่งการของจังหวัดเพื่อขอกำลังเสริมสนับสนุนต่อไป“สำหรับหลักสูตรการอบรม นอกจากการปฐมพยาบาล ดูแลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแล้ว เราจะสอนในเรื่องของระบบการแพทย์ฉุกเฉินด้วย เพ่อื ท่จี ะไม่ให้เกิดข้อพิพาทต่าง ๆ เช่น เรื่องการแย่งคนไข้ ซึ่งทำให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินมีประสิทธิภาพมากย่งิ ข้นึ ซ่งึ ในส่วนของจังหวัดนนทบุรี โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเราได้จัดอบรมมาทุกปี และผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ เราจะได้รู้จักกันมีความผูกพันกัน ทำให้ทำงานกันราบรื่นขึ้น” พญ.จันทิรา กล่าว
พร้อมกับเล่าว่า ภารกิจหลักของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คือ ดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลซึ่งอาจอยู่ที่บ้านหรือที่เกิดอุบัติเหตุและนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่เหมาะสมอย่างปลอดภัย รวมถึงการประสานงานเครือข่ายฯ ในกรณีที่ต้องการกำลังเสริม หรือแจ้งไปยังโรงพยาบาลเครือข่ายฯ ที่จะต้องรองรับคนไข้ เพื่อจะได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องเครื่องมือและบุคลากร นอกจากนี้ เราก็มีภารกิจในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนทางการแพทย์ ในยามที่เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกประเทศ โดยเมื่อได้รับคำสั่งจากกระทรวงสาธารณสุขในการขอความร่วมมือสนับสนุนมา เราก็พร้อมที่จะต้องออกปฏิบัติหน้าที่ตลอด24 ชม. ด้วยความรวดเร็ว รวมถึงทำงานตามระบบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ภารกิจที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การพัฒนาระบบงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุว่าเราเป็นคนทำงานอยู่หน้างาน ก็จะเห็นปัญหาต่าง ๆ จึงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและศึกษาวิจัย เพื่อนำมาพัฒนางานด้านการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับทีมแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ก่อตั้งมา 16 ปีแล้ว โดยช่วงแรกมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง ไม่ค่อยราบรื่นนัก แต่เนื่องจากผู้บริหารเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุน รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานมีความสามัคคีและให้กำลังใจซึ่งกันและกันจึงผ่านพ้นมาได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่ทำงานนี้ถือว่าค่อนข้างเสี่ยง…มักได้ยินข่าวเสมอ ๆ ว่าเวลาออกไปช่วยผู้บาดเจ็บแล้วเกิดอุบัติเหตุซํ้าซ้อน ดังนั้นเราจึงตระหนักเรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ โดยหลักสูตรการฝึกอบรมของจังหวัดนนทบุรีจะเน้นย้ำอาสาสมัครรมูลนิธิกู้ชีพและกู้ภัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุโดยเฉพาะอุบัติเหตุการจราจรทางถนน ในเรื่องของการวางกรวยการแจ้งตำรวจจราจร เพื่อเพิ่มความปลอดภัยกับผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ เนื่องจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงความปลอดภัยถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ หากจะรอให้เกิดเหตุแล้วมาเรียกร้องนั้นไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยค่อนข้างมาก
ในส่วนของศูนย์รับแจ้งเหตุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าพญ.จันทิรา กล่าวว่า “การรับแจ้งเหตุสามารถทำได้หลายช่องทางไม่ว่าจะทางโทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร หรือบางครั้งอาสาสมัครเป็นผู้ไปพบเหตุด้วยตนเอง เมื่อรับแจ้งเหตุแล้วพยาบาลวิชาชีพหรือ นักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์จะพิจารณาอาการของผู้ป่วยว่าควรนำส่งหน่วยใด จากนั้นเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุจะสั่งการไปยังหน่วยที่เหมาะสมที่สุด แต่ถ้าเป็นอุบัติเหตุหมู่ ศูนย์จะต้องรายงานมายังหัวหน้าศูนย์สั่งการซึ่งเป็นแพทย์ผู้ควบคุมก็จะเป็นคนสั่งการตามระบบโดยอาจประสานให้ตำรวจจราจรกันพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้รถพยาบาลเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยในพื้นที่ได้ง่ายขึ้นขณะเดียวกันก็จะช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซํ้าซ้อนและลดการจราจรติดขัด เรียกว่าเป็นระบบต่อเนื่องกัน”
“สำหรับการจัดการอุบัติเหตุหมู่ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของเราเมื่อรับแจ้งเหตุและสั่งการแล้ว เราต้องรายงานให้ผู้บริหารรับทราบสถานการณ์ตามลำดับ…หมอต้องรายงาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล…ท่านผู้อำนวยการก็ต้องรายงานไปที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หรือถ้ามีเหตุการณ์ที่สำคัญมาก อาจจะตอ้ งรายงานตอ่ ไปถงึ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นขั้นเป็นตอนไป การติดต่อประสานงานเราไม่ได้มีเฉพาะเครือข่ายในกระทรวงสาธารณสุข เรามีการติดต่อกับกระทรวงมหาดไทยในส่วนของการปกครอง เรื่องของตำรวจด้วยซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ รวมทั้งจะต้องมีการซ้อมแผนรองรับอุบัติเหตุหมู่ในระดับจังหวัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่เราจะได้รู้ระบบ รู้จักหน้าตากัน และรู้บทบาทหน้าที่ของแต่ละคนว่าใครมีหน้าที่อะไร” พญ.จันทิรา กล่าว
พร้อมกับเอ่ยทิ้งท้ายว่า “งานบริการการแพทย์ฉุกเฉินนี้เป็นงานที่ท้าทาย ผู้ที่ปฏิบัติงานต้ององมีใจรัก รวมถึงต้องหนักแน่นในการที่จะแก้ปัญหา บางทีแก้ปัญหาไม่ได้ทันทีก็ต้องค่อย ๆ แก้ไปเรื่อย ๆ …อย่าหยุดคิด…อย่าหยุดพัฒนา รวมถึงเรื่องกำลังใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะต้องมีความเสี่ยงทุกครั้งในการออกไปปฏิบัติงาน เราต้องให้กำลังใจน้อง ๆ ให้ความสำคัญกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ให้ความรู้เรื่องวิชาการ ความปลอดภัยรวมถึง ให้โอกาสเพื่อเขาจะได้พัฒนาตนเองและได้รับความรู้ใหม่ ๆ ด้วย”