“อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 24 มีนาคม 2565 ฉีดวัคซีนแล้ว 127,862,740 โดส และทั่วโลกแล้ว 11,143 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 1,027.8 ล้านโดส
➡️(24 มีนาคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 11,143 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 19.8 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 559 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 217 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว”
ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 1,027.8 ล้านโดส โดยบรูไนฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (95% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 369.4 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 24 มีนาคม 2565 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 127,862,740 โดส
🌏 ในการฉีดวัคซีน จำนวน 11,124 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ
1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 23 มีนาคม 2565
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 127,862,740 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 55,044,107 โดส (83.2% ของประชากร)
-เข็มสอง 50,162,888 โดส (75.8% ของประชากร)
-เข็มสาม 22,655,745 โดส (34.2% ของประชากร)
2. อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 – 24 มี.ค. 65 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 127,862,740 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 204,171 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 178,490 โดส/วัน
3. อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
– เข็มที่ 1 22,914,214 โดส
– เข็มที่ 2 3,602,129 โดส
– เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน AstraZeneca
– เข็มที่ 1 13,963,094 โดส
– เข็มที่ 2 28,532,433 โดส
– เข็มที่ 3 5,338,940 โดส
วัคซีน Sinopharm
– เข็มที่ 1 7,559,956 โดส
– เข็มที่ 2 7,252,916 โดส
– เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน Pfizer
– เข็มที่ 1 9,838,112 โดส
– เข็มที่ 2 9,888,121 โดส
– เข็มที่ 3 13,774,287 โดส
วัคซีน Moderna
– เข็มที่ 1 768,731 โดส
– เข็มที่ 2 887,289 โดส
– เข็มที่ 3 3,542,518 โดส
4. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 1,027,884,072 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 369,859,000 โดส (70.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. เวียดนาม จำนวน 203,144,374 โดส (81.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
3. ฟิลิปปินส์ จำนวน 147,208,745 โดส (63.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
4. ไทย จำนวน 127,862,740 โดส (83.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. มาเลเซีย จำนวน 68,577,331 โดส (84.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
6. พม่า จำนวน 48,708,905 โดส (47.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
7. กัมพูชา จำนวน 37,692,411 โดส (87.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
8. สิงคโปร์ จำนวน 13,780,673 โดส (93%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9. ลาว จำนวน 9,988,048 โดส (75.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 1,061,845 โดส (95%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม
5. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 69.74%
2. ยุโรป 9.96%
3. อเมริกาเหนือ 8.5%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.2%
5. แอฟริกา 3.97%
6. โอเชียเนีย 0.63%
6 ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 3,226,33 ล้านโดส (228.1% ของจำนวนโดสที่ฉีดต่อประชากร)
2. อินเดีย จำนวน 1,819.73ล้านโดส (132%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 558.72 ล้านโดส (166.6%)
4. บราซิล จำนวน 408.35ล้านโดส (192.8%)
5. อินโดนีเซีย จำนวน 369.86 ล้านโดส (134.1%)
7. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (311%) (ฉีดวัคซีนของ Abdala และ Soberana02)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (262.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. ชิลี (257.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
4. กาตาร์ (244%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderma)
5. มัลดีฟส์ (241.6%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
6. บรูไน (240.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)
7. ฝรั่งเศส (236.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech, Moderna, J&J และ AstraZeneca/Oxford)
8. เกาหลีใต้ (235.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech J&J AstraZeneca/Oxford และ Moderna)
9. สิงคโปร์ (234.1%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)
10. ภูฏาน (233.3%) (ฉีดวัคซีนของ Sinopharm Pfizer/BioNTech AstraZeneca/Oxford และ Sputnik V)
แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุขประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)