การทำประกันภัย พ.ร.บ. เป็นความจำเป็นที่เจ้าของรถหรือผู้ครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต้องจัดทำ ประกันภัย พ.ร.บ. ทุกปี เพราะการทำประกันภัย พ.ร.บ. ถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเป็นหลักประกันว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะต้องได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือเยียวยาอย่างทันท่วงที
แต่ ถ้าทำประกันภัย พ.ร.บ.แล้ว และต้องการจะยกเลิกกรมธรรม์ ยกเลิกได้แต่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าเบี้ยคืนบางส่วน
ด้วยเหตุผลที่ว่า “เมื่อผู้เอาประกันภัยชำระค่าเบี้ยประกันภัยแล้วตามเงื่อนไขกรมธรรม์กำหนดให้กรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีผลใช้บังคับทันที หรือเกิดความคุ้มครองทันที และเมื่อผู้เอาประกันภัยบอกยกเลิกกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ในอัตราการคืนเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ระบุไว้ดังนี้
เช่น หากจำนวนเดือนที่มีการคุ้มครองไปแล้วตั้งแต่วันที่เริ่มทำ จนถึง 1 เดือน จะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนร้อยละ 80 หรือหากคุ้มครองไปแล้ว 2 เดือนได้รับเบี้ยประกันภัยคืนร้อยละ 70 เป็นต้น
โดยผู้เอาประกันภัยสามารถขอยกเลิกกรมธรรม์ ได้ที่สาขาของบริษัทกลางฯ ทั่วประเทศ โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้
1.ต้นฉบับกรมธรรม์ที่ขอยกเลิก
2.สำเนาบัตรประชาชน (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
หากไม่สามารถมาขอยกเลิกได้ด้วยตนเอง ก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาทำการขอยกเลิกแทนได้
โดยต้องมีเอกสารที่แนบ (เพิ่มเติม) ดังนี้
1.หนังสือมอบอำนาจ
2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อยกเลิกกรมธรรม์แล้ว เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถก็ต้องจัดทำประกันภัย พ.ร.บ.ด้วย ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย กล่าวคือหากเจ้าของรถหรือผู้ใดนำรถที่ไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. มาใช้ จะมีความผิดมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
สำหรับผู้ประสบภัยจากรถทุกคนจะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการทำประกันภัย พ.ร.บ.และใช้สิทธิความคุ้มครองได้ที่ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด Call Center 1791 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.rvp.co.th