ติวสุดเข้ม! ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชนลงพื้นที่ เยี่ยมชม “โคก หนอง นา พช.” จังหวัดสุพรรณบุรีและตรวจติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล

ติวสุดเข้ม! ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชนลงพื้นที่ เยี่ยมชม “โคก หนอง นา พช.” จังหวัดสุพรรณบุรีและตรวจติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล กรมการพัฒนาชุมชน

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ในช่วงเช้า 09.30 น. นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ 3 (ภาคกลางตอนล่าง 1) ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วยนายสุภาพ สุขแก้ว พัฒนาการจังหวัดสุพรรณบุรี นางกิตติมา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้ข้อมูลการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ณ อำเภอสองพี่น้อง โดยมีนายณรงค์ ยางงาม พัฒนาการอำเภอสองพี่น้อง เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอและเจ้าของแปลงให้การต้อนรับ ดังนี้

1. แปลงนายวิเศษ หมอยาดี พื้นที่ขนาด 3 ไร่ หมู่ที่ 7 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

2. แปลงนายกฤษณะ สุขสมวงษ์ พื้นที่ขนาด 1 ไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลศรีสำราญ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผลจากการติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้มีการหารือในประเด็นการดำเนินงานในพื้นที่ทั้งหมด ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ตลอดจนข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยในพื้นที่อำเภอสองพี่น้องเป็นอำเภอที่ประสบปัญหาอุทกภัยทำให้ไม่สามารถดำเนินการขุดได้ จำนวนรวม 9 แปลง จังหวัดสุพรรณบุรีจึงได้มีการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการโครงการฯ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว

– ต่อมาในช่วงบ่ายเวลา 13.30 น. ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ได้ติดตามตรวจราชการตามประเด็นตรวจราชการ ตลอดจนโครงการที่เกี่ยวข้องจากนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ณ ห้องประชุมขุนช้าง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีพัฒนาการอำเภอทั้ง 10 อำเภอ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม มีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้

1. การดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นาโมเดล”

2. การดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

3. การดำเนินงาน “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

4. การดำเนินงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (SE)

5. การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)

6. การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

7. การดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การรับรองความถูกต้องของข้อมูลบุคคล/ครัวเรือนเป้าหมาย รวมถึงการบันทึกข้อมูลในระบบ TPMAP Logbook

8. การขับเคลื่อนศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน

9. การขับเคลื่อนตัวชี้วัดกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

นายสุภาพ สุขแก้ว พัฒนาการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้กล่าวสรุปผลการดำเนินงานของจังหวัดสุพรรณบุรีในที่ประชุมว่า “การมาตรวจเยี่ยมของผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชนในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงให้เห็นความก้าวหน้า ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งโครงการริเริ่มนวัตกรรม 60 ปี กรมการพัฒนาชุมชน “พช.สุพรรณบุรี มุ่งสู่ความสำเร็จ One Cd Worker One Tambon” มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอให้ตรงตามค่านิยมองค์กร ABCDEF S&P เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรต่อไป ในการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชนและรัฐบาลจังหวัดสุพรรณบุรีโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” การดำเนินการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งกิจกรรมที่สำคัญอื่นๆ ในนามของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี ขอขอบคุณท่าน ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่มาให้กำลังใจพร้อมเสนอแนะ และนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ”

ขณะที่ นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ได้เปิดเผยว่า “สำหรับการตรวจเยี่ยมจังหวัดสุพรรณบุรี ในครั้งนี้ ได้รับบัญชาจากนายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้มอบหมายให้มาตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจในการทำงานของทุกท่าน โดยได้รับข้อมูลการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” และได้ให้ข้อเสนอแนะครัวเรือนต้นแบบฯ ดังนี้ เน้นย้ำการปฏิบัติตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ การทำเกษตรแบบอินทร์ ปลอดสารเคมีในพื้นที่แปลง เพื่อความยั่งยืน และคุณภาพของผลผลิตที่ได้ และการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมักประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำทุกปี รวมไปถึงการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขอให้ทำงานอย่างบูรณาการทุกภาคส่วน ทำงานเป็นทีมตามข้อสั่งการของกรมฯ วันนี้จึงได้มาพูดคุยและให้กำลังใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยได้มีโอกาสได้หารือข้อราชการสำคัญกับพัฒนาการจังหวัด ผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอ พบว่ามีความเข้มแข็งของส่วนราชการและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เป็นปัจจัยที่สำคัญอันจะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

ภาพ/ข่าว กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี