กระทรวงวัฒนธรรมเดินหน้ารุกพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน จับมือ 7 กลุ่มเอกชน หารือและเตรียมลงนาม MOU เร็วๆ นี้ ต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ วัฒนธรรมชุมชน ชี้เปิดงานวันแรกไปได้สวย ตั้งเป้าจับคู่ธุรกิจได้ถึง 200 คู่
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานในการหารือความร่วมมือการต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT) ในงานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION โดยมีนายโกวิท ผกามาศ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางสาววรรณสิริ โมรากุล ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม นางสาวเพชรรัตน์ สายทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางโชติกา อัครกิจโสภากุล ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนหน่วยงานเอกชน 7 หน่วยงาน ได้แก่ บริษัท ไทยพาวิลเลี่ยน คอร์ปอเรท จำกัด, สมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย, บริษัท บางกอก อินสตรูเมนท์ จำกัด, บริษัท ครีเอทีฟ สเปซซิพ จำกัด, SIAM CASA Association, บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด (ร้านใบเมี่ยง) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วม ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า หลังจากที่กระทรวง วัฒนธรรมได้ดําเนินการโครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เพื่อมุ่งเน้นพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ ทางวัฒนธรรมชุมชนไทย สู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและขยายตลาดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมและทรัพย์สิน ทางปัญญา ตามโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG จนเกิดเป็นงานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย หรือ CCPOT GRAND EXPOSITION ที่ได้เปิดงานวันแรกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าสยาม พารากอน ซึ่งโครงการนี้ ทําให้ผู้ประกอบการชุมชนวัฒนธรรมไทยได้พัฒนาศักยภาพทั้งรูปแบบธุรกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถนําไปต่อยอดและพัฒนาธุรกิจของตนต่อไปได้ หลังจากที่ผ่านมา ต่างก็มีอุปสรรค จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19
นอกจากงานจัดแสดงและจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย และการเจรจาจับคู่ทางธุรกิจแล้ว เพื่อให้การพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทาง วธ. ยังได้จัดประชุมร่วมกับภาคเอกช น เพื่อหารือกันถึงแนวทางในการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด และเพื่อขยาย ช่องทางในการกระจายผลิตภัณฑ์ออกไปให้ได้มากขึ้น ซึ่งหลังจากได้ข้อสรุปความร่วมมือในครั้งนี้แล้วจะได้ ดําเนินการ ลงนามในบันทึกข้อตกลงต่อไป สําหรับหน่วยงานเอกชนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ บริษัท ไทย พาวิลเลี่ยน คอร์ปอเรท จํากัด, สมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย, บริษัท บางกอก อินสตรูเมนท์ จํากัด, บริษัท ครีเอทีฟ สเปซชิพ จํากัด, SIAM CASA Association, บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จํากัด (ร้านใบเมี่ยง) และสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย
สําหรับผลการจัดงานในวันแรก พบว่ามีผู้สนใจเข้าชมงานเกินเป้าหมาย ด้านการเจรจาธุรกิจการค้า สามารถจับคู่เจรจาทางธุรกิจได้ถึง 50 คู่ และมีสินค้าที่ได้รับความสนใจสูงสุด 3 อันดับแรก
1. กลุ่มผ้าผืนผ้าทอ
2. กลุ่มเสื้อผ้าสําเร็จรูป
3. ของตกแต่งบ้าน
สําหรับสินค้าที่เป็นไฮไลท์ของงาน อาทิ ชุดโนรา ราตรี ที่สื่อให้เห็นถึงความงดงามของชุดที่ใช้สวมใส่แสดงโนรา ช็อกโกแลตทุเรียนนนท์ ที่นําช็อคโกแลตมาผสมกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับธรรมชาติทุเรียนนนท์ ฉากใหญ่กั้นห้อง ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหนังใหญ่ กระจกลิเก ผลิตภัณฑ์ ที่หลอมรวมภาพจําของลิเกทรงเครื่องที่ชาวลิเกจะใช้แต่งตัวด้านหลังเวทีก่อนขึ้นทําการแสดง เสื้อคลุมมวยไทย หนึ่งในกีฬาไทยที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เทียนอโรมา ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากประเพณีแห่เทียนพรรษา ของชาวจังหวัดอุบลราชธานีผสานงานฝีมือแกะลายเทียน หัตถกรรมทองเหลืองกล่องร่วมสมัย กระเป๋าเรซินตีนจก ที่นําชิ้นส่วนของผ้าซิ่นมาหล่อในเรซินใสเป็นกระเป๋าทรงกล่องร่วมสมัย ฯลฯ
กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในงานแสดง และจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION ได้จนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 และลาน พาร์ค พารากอน ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน ทั้งนี้ การจัดงาน ครั้งนี้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด และสําหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับชมงานในรูปแบบ Online Virtual Exhibition ได้ที่เว็บไซต์ www.ccpot.in.th และสายด่วนวัฒนธรรม 1765