สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ก.พ. 65

+ ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ช่วงวันที่ 11-13 ก.พ. 65 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน โดยจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแกรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณจ.ปราจีนบุรี (43 มม.) จ.สระบุรี (43 มม.) และ จ.นครราชสีมา (38 มม.)

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 32,703 ล้าน ลบ.ม. (55%) ขนาดใหญ่ 26,328 ล้าน ลบ.ม. (57%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ

+ กอนช. ติดตามการบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมประชุมกับศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบ เพื่อให้การดำเนินการประสานความร่วมมือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตามเป้าประสงค์ของแผนการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบ ที่ประกอบด้วย การเสริมสร้างความปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำของประชาชน การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณคลองแสนแสบ การแก้ไขปัญหามลภาวะและคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบ การป้องกันปราบปราม การบุกรุกทำลายทรัพยากรในคลองแสนแสบ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในคลองแสนแสบ

 กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตื้นเขิน ใช้เรือเจ้าท่า ข.35 และเรือเจ้าท่า 235 เป็นเครื่องจักรปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหาแม่น้ำตื้นเขินให้กับประชาชนเปิดหน่วยปฏิบัติงานฯ เมื่อ 15 ธันวาคม 2564 ระยะเวลาดำเนินการ 210 วัน ขนาดร่องน้ำ ความกว้างที่ก้นร่องน้ำตามแผนการขุดลอก 40 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร ระดับที่ก้นร่องน้ำตามแผนการขุดลอก 9 เมตร (รทก.) ปริมาณเนื้อดิน 250,000 ลูกบาศก์เมตร ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการขุดลอก เพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการ ขุดลอกประมาณ 120 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 2,500 ไร่