สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ม.ค. 65

+ ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวจัด มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนบางแห่ง

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักจ.อุดรธานี (37 มม.) จ.สงขลา (37 มม.) และ จ.นครศรีธรรมราช (36 มม.)

+ พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ. ยะลา

+ ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 36,977 ล้าน ลบ.ม. (64%) ขนาดใหญ่ 29,755 ล้าน ลบ.ม. (62%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง (เขื่อนแม่กวงฯ แม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)

+ คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง เฝ้าระวังค่าความเค็มแม่น้ำเจ้าพระยา

+ เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 5 -10 ม.ค. 65 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าและบริเวณใกล้เคียง ระดับน้ำจะมีความสูงประมาณ 1.8-2.0 ม.
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จึงขอให้ระมัดระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

+ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้มอบหมาย พล.ร.อ.พิเชฐ ตานะเศรษฐ คณะทำงานรองนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาค ในพื้นที่ภาคใต้ ลงพื้นที่ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 65เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาจากอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา พร้อมติดตามการดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำที่สำคัญ เพื่อเร่งลดผลกระทบของประชาชน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ พล.ร.อ.พิเชฐ ได้รับทราบสถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่ง จ.นราธิวาส ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี สาเหตุเกิดจากฝนที่ตกหนักในพื้นที่ส่งผลให้แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำโก-ลก และแม่น้ำบางนรา มีระดับน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ส่งผลกระทบในพื้นที่เป็นประจำ

จากนั้น คณะได้ลงพื้นที่ไปมอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ชุมชนตลาดมูโนะ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยกรณีพนังกั้นน้ำบริเวณชุมชนตลาดมูโนะทรุดตัวเสียหาย เพื่อพบปะและสร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชน ก่อนจะลงพื้นที่ไปติดตามสภาพจุดที่พนังกั้นน้ำทรุดตัวเสียหาย บริเวณชุมชนตลาดมูโนะ ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ซึ่งกรมชลประทานได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขในเบื้องต้น และวางแผนการดำเนินงานก่อสร้างพนังกั้นน้ำทดแทนในระยะยาว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจ ออกแบบ ประมาณราคาค่าก่อสร้างพนังกั้นน้ำใหม่ทดแทนของเดิมให้มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ในอนาคต