พช.ศรีสะเกษ “ประสานพลังทีม ภาคีเครือข่ายการพัฒนา” ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม วาง “เป้าหมาย” ขับเคลื่อนงานปี 65 “ศรีสะเกษ ธานีผ้าศรี…แส่ว” สู่สากล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากคนเมืองศรีภายใต้วาระการพัฒนาจังหวัด 1+10
วันที่ 7 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสระกำแพงใหญ่ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ/ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ มอบหมายให้ นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุมการขับเคลื่อนวาระจังหวัดศรีสะเกษ ผ้าทอมือ “ธานีผ้าศรี…แส่ว” ครั้งที่ 1/65 เพื่อบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคีเครือข่าย วางเป้าหมายการทำงานในปีงบประมาณ 2565 ขับเคลื่อนวาระจังหวัดศรีสะเกษ ยุทธศาสตร์ผ้าทอมือ “ศรีสะเกษ ธานีผ้าศรี…แส่ว” ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้วาระการพัฒนาจังหวัด 1+10 สู่เส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมและยกระดับผ้าทอจังหวัดศรีสะเกษให้มีมูลค่าเพิ่ม มีการพัฒนารูปแบบลวดลายที่ทันสมัย ตรงความต้องการของตลาด และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของคนเมืองศรี ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
ในการนี้ นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอฯ จำนวน 22 อำเภอ อุตสาหกรรมจังหวัดศรีสะเกษ พาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ผู้แทนผอ.ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯศรีสะเกษ ทีมงานเครือข่ายธุรกิจผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC: Young Entrepreneur Chamber of Commerce) ผู้จัดการบริษัทประชารัฐรักสามัคคี ประธานกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ภาคีเครือข่ายการพัฒนาฯ ได้นำเสนอข้อมูลในประเด็นการพัฒนาส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนวาระผ้าจังหวัดศรีสะเกษ
“ผ้าทอมือ ธานีผ้าศรี…แส่ว”บูรณาการขับเคลื่อนโดยส่วนราชการและภาคเอกชน (สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ)
– ผลการลงพื้นที่ติดตามวาระจังหวัดศรีสะเกษประเด็นวาระผ้าทอมือ “ธานีผ้าศรี…แส่ว” ณ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณ หมู่๑๒ ตำบลพิงพวย อำเภอศรีรัตนะ และกลุ่มทอผ้าบ้านกระมัลพัฒนา หมู่ 6 ตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (นำเสนอโดยวีดีทัศน์)
– โครงการส่งเสริมอาชีพสตรีทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย จำนวน 4 โครงการ ผู้เข้าร่วม โครงการ จำนวน 75 คน เป็นเงิน 111,250 บาท (งบกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี)
– โครงการส่งเสริมอาชีพสตรีและเพิ่มทักษะการย้อมผ้าสีธรรมชาติ จำนวน 1๕ โครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 828 คน เป็นเงิน ๑,๐๔๙,๔๘๕ บาท (งบกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี)
– โครงการพัฒนาศักยภาพสตรีด้านการแส่วเสื้ออัตลักษณ์ จำนวน 2๓ โครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๘๑๘ คน เป็นเงิน ๙๗๐,๑๔๐ บาท (งบกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
– โครงการส่งเสริมอาชีพสตรีทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย จำนวน ๗๖ โครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑,๒๐๕ คน เป็นเงิน ๕,๙๐๕,๑๗๕ บาท
– โครงการกลุ่มอาชีพแส่วผ้า จำนวน 1 โครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 18 คน เป็นเงิน 99,000 บาท
2. รายงานยอดจำหน่ายสินค้า OTOP ประเภทผ้า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ (เดือน ตุลาคม ๒๕๖๓ – เดือนกันยายน ๒๕๖๔) จำนวน ๑,๑๙๐,๕๐๙,๐๒๖ บาท
3. รายงานยอดจำหน่ายสินค้า OTOP ประเภทผ้า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖5 (เดือน ตุลาคม ๒๕๖4 – เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔) จำนวน ๓๖,๓๐๑,๗๑๐ บาท
4. แผนการลงพื้นที่และติดตามการขับเคลื่อนวาระจังหวัดศรีสะเกษ ประเด็นผ้าทอมือ “ธานีผ้าศรี…แส่ว” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ ครั้งที่ 1/2565 ลงพื้นที่ วันที่ 9 ธันวาคม 2564 กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านหัวช้าง หมู่ที่ 1 ตำบล หัวช้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
5. การนำเสนอแผนการขับเคลื่อนวาระจังหวัดศรีสะเกษ ประเด็นวาระผ้าทอมือ ของคณะทำงานขับเคลื่อนวาระผ้าทอมือ ธานีผ้าศรีแส่ว
๑) ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ ศรีสะเกษ งบประมาณการขอมาตรฐานที่เกี่ยวข้องจาก จำนวน 10,000 เมตร
๒) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ การนำเอา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยเฉพาะ “นวัตกรรม Encapsulation” กระบวนการที่สารหรือส่วนผสมของสาร ถูกเคลือบ ยึดจับ หรือเข้าใจง่ายๆเติมกลิ่นหอม ผ้าทอเบญจศรี แนวทางการใช้เทคโนโลยียกระดับคุณภาพด้านการผลิตผสานภูมิปัญญา ให้ ผ้าทอเบญจศรี
1) ประสิทธิภาพการผลิตสูง
2) คุณภาพผลิตภัณฑ์สูง
3) รายได้ผู้ประกอบการ OTOP สูง (3ส) และการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ทักษะด้านการ ย้อม ทอ แส่ว
๓) สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ แจ้งแผนการลงพื้นที่ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และบริษัทไทยวา จำกัด(มหาชน) และคณะ ศึกษาดูงาน ซึ่งกำหนดลงพื้นที่อำเภอขุนหาญ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2564 ภายใต้โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธานในที่ประชุมกล่าวว่า ได้รับบัญชามอบหมายจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ/ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาคณะทำงานฯ ว่า จังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ประชาชนมีอาชีพมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จังหวัดศรีสะเกษจึงประกาศวาระจังหวัดศรีสะเกษ วาระ 1+10 โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ “ธานีผ้าศรี…แส่ว” เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด สินค้าภูมิปัญญาของชาวจังหวัดศรีสะเกษให้เป็นที่ต้องการของตลาด มีรูปแบบสีสันที่ทันสมัยสามารถแข่งขันได้ และเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้ ที่มั่นคง ยังยืน สามารถพึ่งตนเองได้ และเป็นการพัฒนารูปแบบ ส่งเสริม การยกระดับผ้าอัตลักษณ์ มีลวดลายทันสมัย เพิ่มมูลค่ามากขึ้น
ได้เน้นย้ำ “การประสานพลังทีม” ของภาคีเครือข่ายการพัฒนา ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งในด้านตัวผลิตภัณฑ์ การตลาด การออกแบบดีไซน์ เพื่อให้สินค้าภูมิปัญญาของชาวจังหวัดศรีสะเกษเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่ง “เป้าหมาย” การพัฒนาในปี 2565 เป็นการเน้นการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการพัฒนา คุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันได้ และเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้ ที่มั่นคง ยังยืน สามารถพึ่งตนเองได้