ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ ชู “ทีทีบี ซัพพลายเชน โซลูชัน” (ttb supply chain solution) ที่ครบวงจรทั้งวงเงินสินเชื่อ และบริการบนดิจิทัล แพลตฟอร์ม เป็นเครื่องมือช่วยผู้ประกอบการกลุ่มดีลเลอร์รถยนต์ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ช่วยเพิ่มสภาพคล่องและมีเงินทุนเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สะดวก คล่องตัวมากยิ่งขึ้น และลดต้นทุนการดำเนินการ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
นายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) กล่าวว่า เป้าหมายของธนาคาร คือ การเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าไว้วางใจให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งธุรกิจเอสเอ็มอีถือเป็นรากฐานสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างมาก พบว่าภาพรวมสถานการณ์ของกลุ่มเอสเอ็มอีในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ยังมีความสามารถขยายตัวได้ 4.2% และมีสัดส่วน 34.5% ต่อจีดีพีประเทศ แต่เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน การฟื้นตัวยังช้ากว่าที่คาดไว้ นอกจากนั้นปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ก็นับเป็นอุปสรรคที่จำกัดการเติบโตทางธุรกิจ โดยพบว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 83% ไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาปัญหาเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาตได้ริเริ่มและพัฒนา ttb supply chain solution อย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญการเติบโตของธุรกิจทั้งซัพพลายเชน ซึ่งในแต่ละซัพพลายเชนจะประกอบไปด้วยลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีผู้ประกอบการรายย่อย หรือเอสเอ็มอีเป็นเครือข่ายคู่ค้า ทั้งในฝั่งของซัพพลายเออร์ ที่คอยป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงาน หรือดีลเลอร์ร้านค้าย่อยที่ช่วยกระจายสินค้าไปยังประชาชนผู้บริโภค โดยธนาคารจะเข้าไปสนับสนุนแหล่งเงินทุน และเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับซัพพลายเออร์ หรือดีลเลอร์ ช่วยลดข้อจำกัดเรื่องการขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน พร้อมไปกับการนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมต่อด้านการชำระเงิน และการส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้จะทำให้ธุรกิจทั้งซัพพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารได้ให้บริการ ttb supply chain solution กับพันธมิตรลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ อาทิ กลุ่มมิตรผล และกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คู่ค้ารายย่อยมาอย่างต่อเนื่อง
“หลังจากรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ เราได้รวมจุดแข็งของสองธนาคาร ทำให้ทีเอ็มบีธนชาตมีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านซัพพลายเชน และธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ผ่านทีทีบีไดรฟ์ จึงทำให้ธนาคารสามารถส่งมอบ ttb supply chain solution ให้กับธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ได้แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ถือเป็นภาคการผลิตหลัก มีห่วงโซ่อุปทานครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการทุกขนาด และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยคิดเป็น 3.6% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี) ดั้งนั้น หากอุตสาหกรรมรถยนต์มีความแข็งแกร่ง ก็จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ดีขึ้น” นายเสนธิป กล่าวเสริม
นายป้อมเพชร รสานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านสิ นเชื่อรถยนต์ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb)กล่าวว่า ทีทีบีไดร์ฟ (ttb DRIVE) เป็นผู้นำด้านธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งในตลาดสินเชื่อรถยนต์ถึง 30% และมีพันธมิตรที่เป็นคู่ค้าและดีลเลอร์รถยนต์ใหม่ทั่วประเทศมากกว่า 1,000 ราย โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนสนับสนุนครอบคลุมทั้ง Ecosystem ของธุรกิจรถยนต์ ด้วยภารกิจ “มากกว่าสินเชื่อรถ… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น” ซึ่ง ttb supply chain จะเป็นโซลูชันสำคัญที่ทำให้ทีทีบีไดรฟ์ สามารถสนับสนุนคู่ค้ากลุ่มดีลเลอร์รถยนต์ หรือผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนลูกค้าได้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ได้แก่
1. เงินทุนหมุนเวียน ผ่านวงเงินสินเชื่อเงินกู้ เพื่อสนับสนุนการซื้อสต็อก รถยนต์และอะไหล่
2. หนังสือค้ำประกันการซื้อเชื่อ เพื่อวางเป็นหลักประกันให้แก่บริษัทรถยนต์มือหนึ่งชั้นนำในประเทศไทย
3. บริการการเบิกใช้ด้วยช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ ttb online e-supply chain platform ซึ่งช่วยในเรื่องกระบวนการเรียกเก็บเงินจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ลดขั้นตอนกระดาษ สามารถรับเงินได้ทันที โดยที่ผู้ซื้อสามารถเบิกใช้วงเงินสินเชื่อที่มีกับธนาคารและทำการจ่ายเงินผ่าน platform ไปหาผู้ขายได้ อีกทั้งยังสามารถติดตามตรวจสอบสถานะการชำระเงิน วงเงินผ่าน dashboard และรายงานได้
ลูกค้าธุรกิจและดีลเลอร์รถยนต์ที่สนใจโซลูชัน ttb supply chain สามารถสอบถามได้ที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี หรือ ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจทีทีบี โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ เวลา 08:00 – 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร
* * * * * *