นายกฯ ลุยตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการ “Factory Sandbox” ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี

Featured Video Play Icon

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 08.30 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ในจังหวัดนนทบุรี ตรวจเยี่ยมโรงงาน ตามโครงการ “Factory Sandbox” ณ บริษัท เอส.บี.อุตสาหกรรมเครื่องเรือน จำกัด เลขที่ 15/8 หมู่ 8 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นางสาวบุปผา เรืองสุด ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน นางสรญา ชวาลดิฐ ประธานบริษัท เอส.บี.อุตสาหกรรมเครื่องเรือน จำกัด นายแพทย์สุรพันธ์ ทวีวิกยการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ พร้อมเจ้าหน้าที่ร่วมให้การต้อนรับ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้เป็นอย่างมาก เพราะมีผลกระทบต่อสุขภาพพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกภาคส่วนของประเทศ ประกอบกับในช่วงนี้การแพร่ระบาดฯ ส่งผลกระทบให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีปัญหาในเรื่องการผลิต แต่ประเทศไทยถือว่าเป็นผลดี เนื่องจากโรงงานต่างๆ สามารถผลิตและส่งออกได้ โดยเฉพาะกำลังการผลิตโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การแพทย์ และอาหาร แช่แข็ง ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดโรงงานเหล่านี้ จะเกิดผลกระทบมากมายเกี่ยวการผลิตการส่งออก ดังนั้น เพื่อรักษา สเถียรภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงานนำเสนอโครงการ Factory Sandbox ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แนวคิด “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” โดย Sandbox มุ่งเป้าไปที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ (แรงงาน 500 คนขึ้นไป) โดยมาตรการควบคุมในพื้นที่เฉพาะ ดำเนินการโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข จัดเจ้าหน้าที่เข้าตรวจหาโควิดเชิงรุกภายในโรงงาน หากพบผู้ติดเชื้อจะนำผู้ติดเชื้อออกจากโรงงานและเข้าสู่ระบบการรักษาตามโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือประกันสังคมแบบ 100% พร้อมจัดให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 แบบ 100% เริ่มโครงการนำร่องต้นเดือนกันยายน 2564 ในพื้นที่เป้าหมายนำร่องก่อน 4 จังหวัด คือ ระยะที่ 1 นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และชลบุรี ระยะที่ 2 อยุธยา ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ และจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการดำเนินการโครงการดังกล่าวใน 4 sector ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และอุปกรณ์การแพทย์ จำกัด ภายใต้ 4 หลักสำคัญ คือ

1. ตรวจ ดำเนินการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR แรงงานในสถานประกอบการทุกคน เพื่อแยกคนป่วยไปรักษาทันทีและดำเนินการตรวจโดยชุดตรวจ ATK ทุกสัปดาห์

2.รักษา สถานประกอบการจัดให้มีสถานพยาบาลในสถานแยกกักตัว (Factory Isolation: FAI) และ Hospitel สำหรับผู้ป่วยสีเขียว โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยสีเหลือง ICU สำหรับผู้ป่วยสีแดง ดูแล ดำเนินฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ให้แรงงาน โดยเน้นกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง คนท้อง และออกใบรับรอง “โรงงานสีฟ้า” เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน

3.ควบคุม ให้สถานประกอบการดำเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ(Bubble and Seal) และมาตรการด้านสาธารณสุข (DMHTT)

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อไปว่า ในวันนี้ ผมและคณะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องขอขอบพระคุณท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ให้เกียรติมาลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงงาน พร้อมนโยบายในการดำเนินงานโครงการ “Factory Sandbox” ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือจากส่วนราชการกระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนนทบุรี บริษัท เอส.บี.อุตสาหกรรมเครื่องเรือน ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ “Factory Sandbox”และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ ที่มาให้บริการลูกจ้าง ผู้ประกันตน สามารถเข้าถึงการคัดกรองตรวจหาเชื้อโควิด-19 ถึงสถานประกอบการ ในการนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังมอบนโยบายการดำเนินโครงการ“Factory Sandbox” ที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตส่งออก ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 7 แสนล้านบาทรักษาระดับการจ้างงานในภาคผลิตส่งออกได้กว่า 3 ล้านตำแหน่ง ป้องกันคลัสเตอร์โรงงานจากการติดเชื้อสร้างสมดุลระหว่างมาตรการด้านสาธารณสุขและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้า พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่อไปได้