น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่าง จำกัด ประเทศต่างๆในโลกรวมทั้งประเทศไทยต่างก็ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในทุกภาคส่วน ปัญหาดูจะเกิดขึ้นถี่และทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับจากสาเหตุต่างๆ โดยภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนที่ต้องใช้น้ำจำนวนมากในการทำการเกษตร ดังนั้นทิศทางการบริหารจัดการน้ำชลประทานจึงมุ่งไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากน้ำชลประทานที่ได้รับการพัฒนาแล้วด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการชลประทานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มคุณค่าของน้ำชลประทานโดยมีขบวนการที่สำคัญที่สุดคือการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำชลประทานอย่างจริงจัง
กรมชลประทาน ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน เกษตรกร รวมไปถึงกลุ่มผู้ใช้น้ำเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำมากขึ้น
การบริหารจัดการน้ำต้องตั้งอยู่บนหลักการสำคัญว่าต้องจัดสรรทรัพยากรน้ำให้อย่างทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาระบบชลประทานให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมการพลังงานการสาธารณูปโภคการอุตสาหกรรมการคมนาคมทางน้ำและการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำของประเทศด้วยโดยที่น้ำมีอยู่อย่าง จำกัด และเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชน
การบริหารจัดการน้ำในปีที่น้ำน้อยต้องแบ่งน้ำแบบรอบเวรปัจจัยความสำเร็จของการส่งน้ำแบบรอบเวร คือ “ความร่วมมือของเกษตร” ความร่วมมือ เกิดได้ก็ต่อเมื่อ เกษตรกร มีความเข้าใจสถานการณ์ ยอมรับกติกา นี่คือหัวใจครับ