เกาะติดต่อเนื่อง! การฝึกอบรม “โคก หนอง นา พช.” จ.อุบลราชธานี รุ่นที่ 39 ผนึกกำลัง “บวร” มุ่งเน้นปฏิบัติจริง สู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน

วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ณ วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

ด้วยความเมตตาจากท่านเจ้าคุณ พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี พระนักพัฒนาชื่อดัง ในฐานะที่ปรึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” กรมการพัฒนาชุมชน และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี

นำโดย นายคมกริช ชินชนะ พ้ฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาการอำเภอและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จังหวัดอุบลราชธานี กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้น การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล รุ่นที่ 39 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการฝึกอบรมฯ ทั้งสิ้น 103 คน จากตำบลคันไร่ ตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย และตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรโคนา 2019

สำหรับบรรยากาศในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา พช. รุ่นที่ 39 ได้ดำเนินการมาถึงวันที่สามและวันที่สี่ โดยวันที่สาม ได้มีการฝึกอบรมฯ เนื้อหาวิชา ประกอบด้วย วิชา พื้นฐานการออกแบบพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล / แบ่งกลุ่มออกแบบพื้นที่โคกหนองนาโมเดลและนำเสนอผลงาน โดยรับหลักการออกแบบโคกหนองนาโมเดล เบื้องต้น ตั้งโจทย์ ดังนี้

1)การวิเคราห์ความต้องการและองค์ประกอบในโครงการ (โคก,หนอง,นา,บ้าน,ทางสัญจร)

2)การคำนวณเพื่อจัดสรรพื้นที่โคกหนองนา

3)การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ 5 ปัจจัย (ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ,คน)

4)การเขียนแบบโคกหนองนาเพื่อการสื่อสาร และการสร้างพื้นที่จำลอง ทั้งนี้ แต่ละกลุ่มนำเสนอผลการออกแบบพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา พช. และฝึกปฏิบัติจริงในฐานการเรียนรู้โคก หนอง นา

จากนั้น วันที่สี่ การฝึกอบรมฯ มีเนื้อหาวิชา ได้แก่ กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน เอามื้อสามัคคี ผ่านกิจกรรม “ดำนากล้าต้นเดียว ปี 2564” โดยครัวเรือนต้นแบบ ( HLM) “โคก หนอง นา” รุ่นที่ 39 จากอำเภอสิรินธร และปิดท้ายด้วย วิชา Team building ฝึกปฏิบัติการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ “หาอยู่ หากิน” เพื่อนำไปประยุกต์ใช้สู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน

จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบโคก หนอง นา ให้สามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา ดำเนินการ 48 รุ่นๆ ละ 5 วัน กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม 4,790 คน ประกอบด้วยครัวเรือนพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนละ 1 คน และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 898 คน จุดดำเนินการ 5 แห่ง ดังนี้

1)ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จำนวน 16 รุ่น

2)วัดป่าศรีแสงธรรม ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จำนวน 11 รุ่น

3)ศูนย์ฝึกอบรมวัดภูอานนท์ ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จำนวน 11 รุ่น

4)ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชนสารภีท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จำนวน 5 รุ่น

5)ชุมชนต้นแบบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนหมู ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล จำนวน 5 รุ่น ซึ่งจุดที่ 4 และ 5 ดำเนินการฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้ว คงเหลือดำเนินการฝึกอบรมอยู่ 3 จุด คือจุดที่ 1-3 รวม 11 รุ่น เนื่องจากต้องชะลอการฝึกอบรมจากข้อห้ามการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

สำหรับการฝึกอบรมฯ รุ่นที่ 39 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน-2 กรกฎาคม 2564 ณ วัดป่าศรีแสงธรรม แห่งนี้ มีฐานการเรียนรู้ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ จำนวน 10 ฐาน ประกอบด้วย

1)ฐานคนมีไฟ

2)ฐานคนมีน้ำยา

3)ฐานคนเอาถ่าน

4)ฐานรักษ์​แม่ธรณี

5)ฐานรักษ์​แม่โพสพ

6)ฐานคนรักษ์สุขภาพ

7)ฐานคนรักษ์ดิน

8)ฐานคนรักษ์ป่า

9)ฐานคนรักษ์น้ำ

10)ฐานคันนาทองคำ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการฝึกอบรมฯ จำนวน 103 คน จากอำเภอสิรินธร แยกเป็นครัวเรือนพื้นที่ต้นแบบจำนวน 95 คน และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 8 คน โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ร่วมกับวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

ทั้งนี้ ได้ดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด

อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี และ สพอ.สิรินธร ภาพข่าว/รายงาน