วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 นายธงชัย เจริญพานิชกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรคการดำเนินการ และให้กำลังใจ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต.) ตลอดจนการดำเนินงานตามโครงการฯ แก่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พช. ในพื้นที่อำเภอพยุห์ และอำเภอวังหิน
ในการนี้ นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ มอบหมาย นางพนิดา วงษ์ศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน (นักวิชาการฯผู้รับผิดชอบอำเภอพยุห์และอำเภอวังหิน) นายอัศวณัฐฏ์ ชิณพันธ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ผู้รับผิดชอบงานโคกหนองนา พช. จังหวัดศรีสะเกษ และนายสุพัฒน์ ยงกุล นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ร่วมรับการตรวจติดตามและสนับสนุนข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการโคก หนอง นา พช. ของจังหวัดศรีสะเกษด้วย
ในส่วนของอำเภอ อำเภอแรกที่รับการตรวจติดตามในครั้งนี้ คือ อำเภอพยุห์ ซึ่งนำโดย นายศดิศ ณิชกุล ปลัดอาวุโสอำเภอพยุห์ และนางประภัสราภรณ์ ศรีปัตเนตร พัฒนาการอำเภอพยุห์ พร้อมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ(นพต.) ให้การต้อนรับและรายงานผลการขับเคลื่อนโคก หนอง นา พช. ในระดับพื้นที่อำเภอพยุห์ ดังนี้ อำเภอพยุห์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนา คุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคกหนองนา พช. จำแนกตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร คือ
1.1) โคกหนองนา พช.ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (งบลงทุน) จำนวน 8 แปลง เป็นพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 7 แปลง พื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 1 แปลง พัฒนาพื้นที่เรียบร้อยทั้ง 8 แปลง คิดเป็นร้อยละ 100 เบิกจ่ายแล้ว 5 แปลง เป็นเงิน 443,652 บาท คงเหลือ(คืนงบฯ) 17,548 บาท คิดเป็นร้อยละ 62.50 และอีก 3 แปลง คณะกรรมการตรวจรับแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารเบิกจ่ายงบประมาณ
1.2) โคกหนองนา พช. งบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนฯ ได้รับการจัดสรร 2 แปลง เป็นพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 2 แปลง เบิกจ่ายแล้ว 2 แปลง เป็นเงิน 201,476 บาท คิดเป็นร้อยละ 100% คงเหลืองบประมาณ 6,524 บาท (อยู่ระหว่างขอแปลงเป็นงบดำเนินงาน จัดซื้อพันธุ์พืชฯ แก่ครัวเรือนฯ)
และอำเภอพยุห์ มีกำหนดวันเอามื้อสามัคคี ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 นับว่าอำเภอพยุห์ สามารถบริหารจัดการการดำเนินงานโครงการโคก หนอง นา พช. ได้เป็นอย่างดี และแปลงครัวเรือนพัฒนาพื้นที่ต้นแบบที่รับการตรวจติดตาม คือ ครัวเรือนของ นายไพศาล อ่อมแก้ว บ้านหนองไฮ หมู่ที่ 8 ตำบลโนนเพ็ก อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมโครงการฯ พื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งมีคติพจน์ประจำตัว คือ ขยัน ซื่อสัตย์ หมั่นเพียร ด้วยใจรักและอดทน ได้นำเสนอการดำเนินงานและแนวคิดในการเข้าร่วมโครงการ โคก หนอง นา พช. ต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัด และกำหนดเป้าหมายที่สำคัญ คือ จะพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ และพัฒนาเป็นศูนย์กระจายสินค้า(ตลาดนัดชุมชน)
นายธงชัย เจริญพานิชกุล ได้ให้แนวคิดเพิ่มเติมแก่ครัวเรือนต้นแบบและผู้เข้าร่วมรับการตรวจติดตามว่า จะเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ครัวเรือนต้นแบบต้องมีส่วนร่วมขับเคลื่อนให้ประสพความสำเร็จ ราชการช่วยในเรื่องที่เกินกำลังของครัวเรือน ไม่ใช้ราชการหาให้ทั้งหมด และกล่าวชื่นชม ทีมงานอำเภอพยุห์ และนายไพศาล อ่อมแก้ว ที่สามารถขับเคลื่อนโครงการได้เป็นอย่างดี ต่อยอดและนำความรู้ที่ผ่านการฝึกอบรมฯ 4 คืน 5 วัน มาผสมผสานกับความรู้และประสบการณ์ของตนเอง ปรับใช้ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี มีกิจกรรมที่ท้ายทายที่น่าสนใจ คือ เลี้ยงปลาช่อน โดยมีการเลี้ยงปลานิลไว้เป็นแหล่งอาหารของปลาช่อนลดรายจ่ายการใช้หัวอาหาร มีระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์โดยไม่ต้องรอรับการสนับสนุนฯ
และนายไพศาล อ่อมแก้ว ยังกล่าว ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุห์ และที่ขาดไม่ได้ คือ ลูกๆ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ที่มาคอยให้คำปรึกษา สนับสนุน ช่วยออกแบบพื้นที่ และอื่นๆ อีกมากมาย และรู้สึกดีกับโครงการนี้มาก ถ้ามีอีกอยากเข้าร่วมอีกเพื่อขยายพื้นที่ออกไป
หลังจากนั้นได้เดินทางติดตามการดำเนินงานโครงการโคกหนองนา พช. อำเภอวังหิน โดยมีนายจรัญ ใจห้าว พัฒนาการอำเภอวังหิน เจ้าหน้าพัฒนาชุมชนอำเภอ นายประเวช ทัดเทียม ผอ.รพ.สต.ดวนใหญ่ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต.) และนายสมหวัง นาครินทร์ ครัวเรือนต้นแบบฯ ให้การต้อนรับและรับการตรวจติดตาม ณ บ้านโนนสูง หมู่ที่ 1 ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน นายจรัญ ใจห้าว พัฒนาการอำเภอวังหิน รายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการโคกหนองนา พช. ในพื้นที่อำเภอวังหิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) โคก หนอง นา พช. ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 19 แปลง จำแนกเป็น พื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 11 แปลง/ครัวเรือน งบประมาณ 497,200 บาท พื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 8 แปลง/ครัวเรือน งบประมาณ 832,000 บาท ทำสัญญาจ้าง ขุดปรับพื้นที่แล้วเสร็จครบ ทั้ง 19 แปลง และอยู่ระหว่างดำเนินการส่งหลักฐานการเบิกจ่ายให้จังหวัด
2) โคกหนองนา พช. งบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนฯ ได้รับการจัดสรร 7 แปลง/ครัวเรือน งบประมาณ 551,600 บาท เป็นพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 3 แปลง/ครัวเรือน งบประมาณ 135,600 บาท และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 4 แปลง/ครัวเรือน งบประมาณ 416,000 บาท ทำสัญญาจ้าง ขุดปรับพื้นที่แล้วเสร็จครบ ทั้ง 7 แปลง และอยู่ระหว่างดำเนินการส่งหลักฐานการเบิกจ่ายให้จังหวัด
นายสมหวัง นาครินทร์ ครัวเรือนต้นแบบฯ ได้กล่าวขอบคุณ กรมการพัฒนาชุมชนที่ให้โอกาสเข้าร่วมโครงการฯ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาน้ำในแปลง เดิมที่ใช้น้ำบาดาลแต่พอสูบขึ้นมาแล้วน้ำเป็นสนิมไม่สามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้ ผมตั้งเป้าไว้ว่าจะปลูกมะพร้าวน้ำหอม เลี้ยงปลา และอีกอย่างคือเน้นการเลี้ยงหอยเชอรี่ ซึ่งได้ลองทำมาบ้างแล้ว
และนายธงชัย เจริญพานิชกุล ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในการตรวจติดตามการดำเนินโครงการโคกหนองนา พช. ครั้งนี้ได้รับมอบหมาย จากนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเกิดการขับเคลื่อนการโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้เสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” เป็นการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้
พัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน