วันที่ 24 มิถุนายน 2564 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และได้รับเกียรติจาก นายณัฐวัชร์ วรนพกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล นายชัชวาล ชิดชัยมงคล ที่ปรึกษาศูนย์วัฒนธรรมดิจิทัลภาครัฐ นายสุดเขต เชยกลิ่นยศ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์วัฒนธรรมดิจิทัลภาครัฐ โดยมีนางสาวทิพพรรณ ไชยูปถัมภ์ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน นางสาวประภาพรรณ วุ่นสุข ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศชุมชน ให้การต้อนรับ ณ ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 5 กรมการพัฒนาชุมชน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า ขอขอบคุณสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลและผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน ที่มุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองให้เกิดสมรรถนะแสวงหาความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในยุคปัจจุบันต้องมี โดยเฉพาะข้าราชการ ต้องมีการเรียนรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อพี่น้องประชาชน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกในยุค Digital Disruption ซึ่งในส่วนของภาครัฐต้องตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนงาน ให้สามารถอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนไปสู่รัฐบาลดิจิทัล คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรภาครัฐในทุกระดับให้ได้รับความรู้ ความสามารถให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล
ในโครงการนี้ มีการฝึกอบรม 5 หลักสูตร ได้แก่
1) หลักสูตรการพัฒนาเว็บ Application เบื้องต้น
2) หลักสูตรการนำเสนอด้วย Infographics
3) หลักสูตรการใช้เครื่องมือ Google Data Studio ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4) หลักสูตรการจัดเก็บข้อมูลจากสังคมออนไลน์แบบเรียลไทม์ (Social Listening)
5) หลักสูตรที่การใช้งานโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล Data Visualization (Tableau) โดยมุ่งหวังว่าบุคลากรของกรมการพัฒนาชุมชนจะสามารถไปปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานให้มีทักษะในการรองรับสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ต่อไป
การฝึกอบรมครั้งนี้จะเผยแพร่ไปสู่ผู้ที่สนใจในรูปแบบ e-learning โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 498 คน และได้พัฒนาศักยภาพข้าราชการในส่วนกลาง 5 หลักสูตร จำนวน 95 คน ทำให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคาดหวังว่าไม่เพียงแต่ข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชนเท่านั้นที่ได้เรียนรู้ แต่ข้าราชการหน่วยงานอื่น รวมถึงพี่น้องประชาชน ได้เรียนรู้อย่างกว้างขวาง ในการขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ด้วยการนำข้อมูลส่วนต่างๆที่มีไปสู่ Bigdata ให้เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมทั้งภาครัฐและพี่น้องประชาชน เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวนวัตวิถี โดยปลุกกระแสการท่องเที่ยว Tour From Home ผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการรรณรงค์ผ่านสื่อเทคโนโลยี ทำให้สังคมเข้าสู่ระบบใหม่ New Normal ยิ่งมีความจำเป็นที่ทำให้ทุกท่านต้องมีสมรรถนะในด้านของเทคโนโลยี สำหรับให้บริการมากขึ้น