วันที่ 21 มิถุนายน 2564 นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นางสาวมนทิรา เข็มทอง พัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายสหชัย แจ่มประสิทธิสกุล นายอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และคณะ เข้านมัสการพระคุณเจ้า พระภาวนามังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระวรราชาทินัดดามาตุ คณะสงฆ์ และตรวจเยี่ยมแปลงเป้าหมายที่จะเข้าร่วมสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” ณ วัดวรราชาทินัดดามาตุ และ วัดพุทธมงคลเทพนิมิตร ตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดี พช. กล่าวว่า ต้องขอกราบขอบคุณในความเมตตาของ พระคุณเจ้า พระภาวนามังคลาจารย์ และคณะพระสงฆ์ ที่สนใจการดำเนินโครงการโคก หนอง นา ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีภารกิจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสุข มีความมั่นคงในครัวเรือน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการขับเคลื่อนการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และ กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายให้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนาคน ให้พึ่งตนเอง มีความเป็นเจ้าของและบริหารจัดการโดยชุมชน พัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชนให้มีวิถีชีวิตเศรษฐกิจ พอเพียงและเป็นสังคม “อยู่เย็น เป็นสุข”
ด้าน พระภาวนามังคลาจารย์ กล่าวตอบว่า อาตมาขออนุโมนากับกรมพัฒนาชุมชน ที่ร่วมขับเคลื่อนและผลักดันโครงการ โคก หนอง นา ซึ่งเป็นโครงการที่ดีในการสร้างความมั่นคงเรื่องอาหารให้กับประชาชนในยุคโควิด -19 นี้ วัดวรราชาทินัดดามาตุ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ 15 ไร่ และวัดพุทธมงคลเทพนิมิตร 3 ไร่ ยินดีที่มอบให้กรมพัฒนาชุมชนไปพัฒนาพื้นต้นแบบ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จัดสรร ทำเป็นโคก หนอง นา การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรโดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการปลูกผักสวนครัวเลี้ยงพระภิกษุ-สามเณรที่จำพรรษาอยู่ที่นั้น พร้อมกับสงเคราะห์ญาติโยมที่อาศัยอยู่รอบบริเวณนั้น หากไม่มีที่ดินทำกินหรือไม่มีที่ปลูกผัก สามารถมาขอทำมาหากินที่ดินของวัดได้เลย
นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รอง อธิบดี พช. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าว่า การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ สู่ “โคก หนอง นา พช.” ขับเคลื่อนชุมชนตามหลัก “บวร” เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของ “บวร” บ้าน วัด ราชการ เพื่อเป็นศูนย์เรียนเรียนรู้ เป็นพื้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาพื้นที่โดยแบ่งเป็นสัดส่วนมี โคก สำหรับปลูกป่า 3 อย่าง คือ ป่าไม้ใช้สอย ป่าไม้เศรษฐกิจ ป่าไม้กินได้ ประโยชน์ 4 อย่าง พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น และการปลูกป่า 5 ระดับ ไม้สูงไม้กลาง ไม้เตี้ย ไม้เลื้อยเรี่ยดิน ไม้หัวใต้ดิน ปลูกผักสร้างความั่นคงทางอาหาร พื้นที่หนอง เอาไว้แหล่งกักเก็บน้ำไว้สำหรับฤดูแล้ง การขุดคลองไส้ไก่ สร้างความชุ่มชื่นให้พื้นที่พื้นที่นา ไว้ปลูกข้าว ทำนา
สามารถสร้างพื้นที่การพัฒนาคุณภาพให้พี่น้องชาวบ้าน เป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันเป็นการดำเนินงานการขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายความยั่งยืนโลก Sufficiency Economy Philosophy to Sustainable Development Goals (SEP to SDGs) ข้อที่ 1 No Poverty การขจัดความยากจน ข้อที่ 2 Zero Hunger ขจัดความหิวโหยและความอดอยาก รวมไปถึงแก้ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน และข้อที่ 6 Clean Water and Sanitation การจัดการน้ำและสุขาภิบาล และเราคาดว่าการขับเคลื่อนโครงการนี้ จะเป็นการสร้างคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ขจัดความยากจนทุกช่วงวัย ทำงานในทุกมิติมาพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ขาดแคลนโอกาสและด้อยโอกาส การได้รับความเมตตาจากพระคุณในการให้ใช้ที่ดินในการดูแลของวัด ในการดำเนินการโครงการโคก หนอง นา ถือว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนในพื้นที่ และรวมทั้งเป็นการสร้างแหล่งผลิตอาหาร แก่ผู้ยากไร้ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต