จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 กลายเป็นวิกฤตมลพิษทางอากาศของกรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้แต่ละพื้นที่มีความหนาแน่นของฝุ่นที่แตกต่างกัน ในบางพื้นที่จะมีปริมาณความหนาแน่นของฝุ่นทะลุตั้งแต่ 20-50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศปิด แต่เกิดจากมลพิษอากาศที่ปล่อยควันเสียของเครื่องยนต์ดีเซล การก่อสร้าง และจากโรงงานอุตสาหกรรม จากปัญหาดังกล่าวทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมาบริหารจัดการเมื่อเข้าบริเวณฝุ่น PM 2.5 และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ เช่นเดียวกับที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ได้มีการพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มภูมิสารสนเทศและดาวเทียม เพื่อการบริหารจัดการ PM 2.5 มาให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ และข้อมูลจากสถานีตรวจวัดที่เกี่ยวข้องรวมถึงการคาดการณ์ ปริมาณความเข้มข้นของ PM 2.5 ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือวช.ในการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของสังคม #สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #ฝุ่นpm25