กล๊ะ ผู้หญิงหัวใจแกร่ง แห่งบ้านทอนอามาน นราธิวาส “ปั้นกะลามะพร้าวให้เป็นเงิน”

ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของไทย นำมาซึ่งความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และความไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต เป็นความทุกข์ที่ปวดร้าว แต่สิ่งที่ทุกข์ตามมายิ่งกว่านั้นคือ เรื่องปากท้องของครอบครัว เพราะตราบใดที่ท้องยังหิว ก็มิอาจจะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้

จิบูโร บินหะมะ หรือคนในชุมชนเรียกขานเธอว่า “กล๊ะ” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวบ้านทอนอามาน อ.เมือง จ.นราธิวาส เล่าว่า ชาวบ้านที่นี่ประกอบอาชีพประมง โดยที่ดินบ้านนาทอนส่วนใหญ่เป็นชายเลน จึงทำมาหากินไม่ค่อยได้ ส่วนพื้นที่บริเวณบ้านก็ปลูกได้เพียงมะพร้าวเล็ก ๆ น้อย ๆ รายได้คนที่นี่จึงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่ยากจน ยามว่างบรรดาแม่บ้านจึงพยายามหารายได้เสริมด้วยการ รับจ้างแกะปลากะตะ ได้เงินวันละประมาณ 40 บาท บ้างนำหญ้ากระจูด มาสานเป็นเสื่อใช้เองหรือขายเป็นสินค้าท้องถิ่น แต่ภายหลังมีการปรับพื้นที่ไปปลูกปาล์ม ทำให้กระจูดเริ่มจะสูญพันธุ์ หายากและราคาแพง …

 

แม้ปัญหายังมีอีกมากมาย แต่ความตั้งใจของกล๊ะไม่เคยหยุดนิ่ง ยิ่งเห็นบรรดาแม่บ้านซึ่งเป็นทั้งเพื่อน พี่น้อง และญาติ ๆ ในละแวกหมู่บ้าน ประสบเหตุสามีเสียชีวิต รวมถึงได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ จนเป็นเหตุให้ภาระการเลี้ยงดูครอบครัว ต้องตกไปอยู่กับผู้หญิงเหล่านี้“พวกเราความรู้น้อย ฐานะก็ยากจน กล๊ะยังดีที่มีสามีเป็นหลักแต่ผู้หญิงในหมู่บ้านนี้หลายครอบครัวกำลังเดือดร้อนและมีทุกข์แม้กล๊ะจะไม่มีเงิน แต่กล๊ะมีกำลัง มีมือไม้ที่จะทำมาหากิน อะไรที่พอจะช่วยกันได้พวกเราต้องทำ ปี 2553 พวกเราตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านและมานั่งคุยกันว่า ในหมู่บ้านเรามีวัตถุดิบอะไรที่พอจะสร้างเป็นรายได้ คิดไปคิดมา…ก็มีแต่มะพร้าว จึงให้ทุกคนขนมะพร้าวที่มีในบ้านเอามารวมกัน ได้มะพร้าวประมาณ 120 ลูก ถือเป็นทุนก้อนแรกของพวกเรา เพราะไม่มีใครมีเงิน”ตอนแรกก็เอามะพร้าวมาคั้นเป็นกะทิสด แต่ขายไม่ดี เพราะในชุมชนมีมะพร้าวกันทุกบ้าน จึงเปลี่ยนมาทำมะพร้าวคั่ว ทำไปได้1-2 เดือน ตลาดก็ยังไม่มี ต้องออกไปขายเองที่ตลาดในเมือง เพื่อที่จะได้มีทุนหมุนเวียนกลับมาบ้าง บางช่วงรู้สึกท้อ…นั่งคิด นั่งน้ำตาไหลถามตัวเองว่าทำไมเราต้องมาแบกรับปัญหาของคนในชุมชน แต่อีกใจหนึ่งก็เชื่อมั่นในพลังของความร่วมมือ คนตัวเล็ก ๆ อย่างพวกเรา หากรวมกันช่วยกันพวกเราทั้งหมดจะก้าวข้ามปัญหาต่าง ๆ ไปได้ อย่างยั่งยืน ระหว่างนั้นมหาวิทยาลัยปัตตานี มีหนังสือให้ไปอบรมเรื่องการทำน้ำมันมะพร้าว เมื่อได้ความรู้กลับมาก็เอามาสอนคนในกลุ่ม และทำน้ำมันมะพร้าวขาย แต่ทำน้ำมันมะพร้าวอย่างเดียวอยู่ไม่ได้ ก็เลยคิดทำสบู่ แชมพู โลชั่น รวมถึงยาหม่องน้ำมันมะพร้าว ซึ่งความรู้ในการ“ปั้นกะลามะพร้าวให้เป็นเงิน” แปรรูปมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ได้มาจากส่วนราชการ แต่ชาวบ้านก็ทำกันแบบลุ่ม ๆดอน ๆ เพราะไม่มีเงินทุนทำ ไป ได้ซัก พักประมาณปี 2556 กล๊ะก็เห็นว่า มีเศษกะลามะพร้าว เปลือกมะพร้าวเหลือทิ้งมากมาย น่าจะเอามาทำประโยชน์ได้โชคดีที่อุตสาหกรรมจังหวัดพาไปอบรมดูงานการผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าวที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และยังช่วยสนับสนุนเครื่องอัดถ่านเป็นก้อน ซึ่งการทำถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว เริ่มจากการเผากะลาให้เป็นถ่าน นำมาบดหยาบรอบแรก และนำไปผสมแป้งมันให้เข้ากันบดอีกครั้ง และอัดเป็นแท่ง จากนั้นนำไปผึ่งแดดจัด จนถ่านแห้งเป็นก้อน นำมาบรรจุถุงประมาณ 10 ก้อน จำหน่ายในราคาถุงละ 20 บาท ซึ่งถ่านจากกะลาอัดแท่งจะให้ความร้อนสูง ไม่มีควัน ร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง จะนิยมกันมาก จึงมีออเดอร์เข้ามาตลอด ตอนนี้ส่งเข้าไปขายในประเทศมาเลเซียด้วย

กล๊ะเล่านอกจากเป็นการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่าแล้วยังช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับกลุ่ม จากเดิมที่รวมตัวกันนำงานแต่ละครั้งจะมีรายรับอยู่ที่ 80 บาท เพิ่มเฉลี่ยเป็น 250 บาท/คน อย่างไรก็ตามปัญหาหลักคือ เงินทุน เช่น ถ้ามีออเดอร์สั่งทำถ่านอัด ก็จะทำได้แค่อย่างเดียวผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต้องหยุดหมด เอาเงินมาลงทุนตรงนี้ รู้สึกเสียดายเวลามีคนมาสั่งของพร้อมกันมาก ๆ แต่ทำไม่ได้ เพราะไม่มีเงินทุนไปซื้อวัตถุดิบ เป็นข้อคิดสำคัญสำหรับกล๊ะว่า ต่อให้เราทำงานเก่งแค่ไหนถ้าไม่มีเงินทุนเราก็ทำไม่ได้ อยู่มาวันหนึ่ง ร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทางตะโกนเรียกว่า กล๊ะหยุดก่อนนมีคนมาหา จึงจอดรถมอเตอร์ไซด์แล้วเดินไปหา ตอนนั้นไม่รู้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. คิดว่าเป็นเด็กวัยรุ่นทั่วไป จึงถามว่าน้องมาจากไหน? เมื่อบอกว่ามาจาก ธ.ก.ส. กล๊ะก็ใจชื้นขึ้น เพราะเคยได้ยินมาว่าธ.ก.ส.ช่ว ยคนรากหญ้า เคยเห็นโฆษณา ธ.ก.ส. ในทีวี แต่กล๊ะ ก็ไม่กล้าเข้าไปในธนาคาร เพราะไม่มีความรู้และพวกเราก็ไม่มีหลักประกันอะไรเลย หัวหน้าที่มาจาก ธ.ก.ส. บอกว่าเคยไปหากล๊ะที่ศูนย์ครั้งหนึ่งแล้ว แต่กลุ่มปิด วันนี้เลยมาถามหากับคนแถวนี้ เมื่อคุยกันแล้วรู้สึกอบอุ่นใจ เพราะหัวหน้าเป็นกันเองมาก ดูเหมือนญาติพี่น้องที่มาพบกันมาคุยกัน มากกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร ทำให้กล๊ะกล้าที่จะเล่าถึงปัญหาต่าง ๆหัวหน้าถามถึงการทำมาหากินของคนในกลุ่มถามว่ามีเงินทุนหมุนเวียนตรงนี้มั้ย? พอพูดไปแล้วก็เหมือนมันอัดอั้นมานาน กล๊ะพูดทั้งน้ำตาว่าเราไม่มี เราลำบากมากเคยแม้กระทั่งอดข้าวจานเดียว ปลา 1 ตัว กินกัน 3 คน หัวหน้าถามว่าอยากได้เงินทุนมั้ย กล๊ะบอกอยากกู้ แต่ไม่มีหลักประกัน หัวหน้าก็แนะนำถึงขั้นตอนต่าง ๆ ประมาณอาทิตย์กว่า ๆ ก็มาหาอีก บอกว่ากู้ได้ จากนั้นก็มาอีก 2-3 ครั้ง มาเก็บเอกสารของคนในกลุ่ม แล้วก็บอกให้ไปพบที่ ธ.ก.ส. สาขานราธิวาสเพื่อทำสัญญาเงินกู้ ทำให้กลุ่มของพวกเรามีเงินทุนหมุนเวียน เพื่อซื้อวัตถุดิบ เพื่อสต็อกสินค้าได้โดยไม่เดือดร้อน

…เดิมกล๊ะไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าธนาคารนั้นคืออะไร? ธ.ก.ส. มา ธ.ก.ส. เข้าถึงทุกพื้นที่เข้าถึงทุกจุด ดีใจที่มาช่วยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราดีขึ้น…

 

นับตั้งแต่วันนั้นมาเมื่อก่อนเวลามีออร์เดอร์มาจะเครียดมาก ไม่มีเงินซื้อของ ทำงานไปก็เครียดไป เพราะเสียดายที่เขาสั่งมาแล้วแต่ทำให้เขาไม่ได้ แต่ตอนนี้ลุยกันได้เต็มที่ พอมีปัญหาอะไร ก็ไปหา ธ.ก.ส. ซึ่ง ธ.ก.ส. ก็พร้อมช่วยพวกเราทุกอย่าง แม้กระทั่งติดต่อตลาด สถานที่ราชการต่าง ๆ ให้พวกเราเอาของไปขาย ดอกเบี้ยที่คิดก็ไม่แพง เมื่อเทียบกับการไปกู้นอกระบบ ต่างกันเยอะ ชาวบ้านอย่างพวกเรายิ้มได้ มีความสุข มีเงินเพียงพอที่จะหาเลี้ยงครอบครัว ส่งลูกเรียนเ เมื่อก่อนเด็กเรียนได้อย่างมากแค่ ป.3 แต่ตอนนี้ได้ถึงป.6 ถึง ม.6 บางคนส่งถึงปริญญา ชีวิตเมื่อก่อนกับตอนนี้เหมือนฟ้ากับดิน เพราะแค่จะกินยังไม่พอ…