พช.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ตรวจรับงาน “โคก หนอง นา พช.” จำนวน 5 แปลง ในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในยามวิกฤต

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ภายใต้การอำนวยการของ นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน มอบหมายให้อำเภอแม่ลาน้อย นำโดย นายชูชาติ คำมา นายอำเภอแม่ลาน้อย พร้อมด้วยนางพิมลรัตน์ พลรักษ์ ตาคำ พัฒนาการอำเภอแม่ลาน้อย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบ นายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจรับแปลง ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนและตรวจรับงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

พร้อมสืบสานแนวพระราชดำริ และยึดหลักกสิกรรมธรรมชาติ ในการพัฒนาพื้นที่ช่วงฤดูฝน โดยการลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนโครงการฯ ในครั้งนี้ คณะกรรมการ ได้ตรวจรับงานการขุดปรับพื้นที่ จำนวน 5 ครัวเรือน ประกอบด้วย กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) จำนวน 3 ครัวเรือน ที่ผู้รับจ้างได้ดำเนินการขุดปรับ ตามภูมิสังคมเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ประกอบด้วย นายเฉียบชัย พงศ์พันธ์ศักดิ์ บ้านห้วยกองเป๊าะ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ลาหลวง / นางคำปัน ปินตาคำ บ้านแม่สุ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่ลาหลวง / นายนภา ปินทอง หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ลาหลวง และตรวจรับงานการขุดปรับพื้นที่ ศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา ” ตามภูมิสังคม โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมที่ 2.4 การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 2 ครัวเรือน ประกอบด้วยนายวิฑูรย์ พึ่งเศรษฐกิจ บ้านห้วยกองเป๊าะ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และนายภาคภูมิ เพริศพรายงาม บ้านแม่ปาง หมู่ที่ 1 ตำบลสันติคีรี อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งผลการตรวจรับเจ้าของแปลงทั้ง 5 แปลง คณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ผ่าน โดยจะเร่งทำการเบิกจ่ายตามแนวทางและระเบียบของทางราชการ ซึ่งเจ้าของแปลงมีความพึงพอใจ และมุ่งมั่นพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่อไป

อ.แม่ลาน้อย ได้รับการอนุมัติดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบประมาณจำนวน 2,969,000 บาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายในอำเภอ ทั้งสิ้น 25 แห่ง เเบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) : 1 แห่ง เเละพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) : 24 แห่ง ดำเนินโครงการดังนี้

1)โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน จำนวน 12 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ 1 ไร่ 9 แห่ง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 3 แห่ง จำนวน 898,800 บาท

2)โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบเงินกู้ COVID ในพื้นที่ทั้งสิ้น 13 แปลง แยกเป็น HLM 12 แปลง (พื้นที่ 1 ไร่ 6 แปลง, พื้นที่ 3 ไร่ 6 แปลง) ประกอบด้วยกิจกรรมที่ 2,4 เป็นจำนวนเงิน 1,185,200 บาท เเละ CLM 1 แปลง (พื้นที่ 10ไร่ 1 แปลง) ประกอบด้วยกิจกรรมที่ 5 บูรณาการร่วมพัฒนาพื้นที่ระดับตำบล งบประมาณ 885,000 บาท

3)การจ้างงานนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จำนวน 16 คน จำนวนเงิน 1,728,000 บาท โดยได้รับงบประมาณโครงการฯ รวมงบประมาณทั้งสิ้น 4,697,000 บาท

โอกาสนี้ คณะติดตามฯ และตรวจรับงาน ได้พบปะคณะทำงานที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการฯ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และเจ้าของแปลงในพื้นที่ โดยท่านนายอำเภอแม่ลาน้อย และองค์กรปกครองท้องถิ่น พร้อมดำเนินการต่อยอด สนับสนุนเจ้าของแปลง ในการเป็นต้นแบบในพื้นที่หมู่บ้าน และตำบล ซึ่งเจ้าของแปลง พึงพอใจและดีใจ ที่มีโครงการดังกล่าวมาสนับสนุนพื้นที่ และขอขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชนที่มาช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในยามวิกฤต ทั้งนี้พัฒนาการอำเภอแม่ลาน้อย ได้ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 การปลูกไม้ป่า 5 ระดับ ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง

พร้อมชื่นชมแปลงที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแนวทางของหลักกสิกรรมธรรมชาติและระยะเวลาที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝน หากมีเหตุขัดข้องหรือข้อสงสัย ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยทันที เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน และมีแปลงตัวอย่างที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบแก่คนในพื้นที่ โดยเฉพาะการพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน

เมืองในฝัน สวรรค์บนดอย : งานประชาสัมพันธ์ สพอ.แม่ลาน้อย ภาพข่าว/รายงาน