นายวรัท พฤกษาทวีกลุ เลขาธิการ กศน. เปิดเผยว่า สํานักงาน กศน.เป็นหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุน และประสานงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในการที่จะเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายของ กศน. ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยได้ดำเนินงานภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 รวมทั้งนโยบายและแนวทางหลักในการดําเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้กําหนดการดําเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์คือ “คนไทยทุกช่วงวัยได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีทักษะที่จําเป็น และสมรรถนะที่สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศ สามารถดํารงชีวิตได้อย่างเหมาะสมบนรากฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยกำหนด 6 จุดเน้น การดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงาน กศน. ทั้งส่วนกลาง กศน.จังหวัด/อำเภอ รวมถึงสถานศึกษาขึ้นตรง ในสังกัดสำนักงาน กศน. เพื่อไปสู่ทิศทางและบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ดังนี้
1. น้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ อาทิ การสืบสานศาสตร์พระราชา โดยการสร้างและพัฒนาศูนย์สาธิตและเรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล”เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการบริหารทรัพยากรรูปแบบต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ จัด “หนึ่งชุมชน หนึ่งนวัตกรรม การพัฒนาชุมชน” เพื่อความกินดี อยู่ดี มีงานทํา และสร้างกลุ่มจิตอาสาพัฒนาชุมชน รวมทั้งปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง เป็นต้น
2. ส่งสริมการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสําหรับประชาชนที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย โดยส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทํา ในรูปแบบ Re-Skill& Up-Skill สามารถออกใบรับรองความรู้ความสามารถเพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาอาชีพได้ส่งเสริมและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษให้กับประชาชน (English for All) ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสําหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย
3. พัฒนาหลักสูตร สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และรูปแบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ ในทุกระดับ ทุกประเภท เพื่อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับทุกกลุ่ม เป้าหมาย มีความทันสมัย สอดคล้องและพร้อมรองรับกับบริบทสภาวะสังคมปัจจุบัน ตรงความต้องการของผู้เรียน และสภาวะการเรียนรู้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งพัฒนาระบบการเรียนรู้ ONIE Digital Learning Platform ที่รองรับ DEEP ของกระทรวงศึกษาธิการและช่องทางเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ ทั้ง Online On-site และ On-air พัฒนาแหล่งเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ อาทิ Digital Science Museum/ Digital Science Center/Digital Library ศูนย์การเรียนรู้ทุกช่วงวัย และศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ กศน. (Co-Learning Space) เพื่อให้สามารถ “เรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง ทุกที่ ทุกเวลา” และพัฒนาระบบรับสมัครนักศึกษาและสมัครฝึกอบรมแบบออนไลน์ มีระบบการเทียบโอนความรู้ระบบสะสม หน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) และพัฒนา/ขยายการให้บริการระบบทดสอบอิเล็กทรอนิกส์ (E-exam)
4.บูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพ โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน อาทิ การส่งเสริมการฝึกอาชีพที่เป็นอัตลักษณ์และบริบทของชุมชนส่งเสริมการตลาดและขยายช่องทางการจําหน่ายเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์/สินค้า กศน. และบูรณาการ ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค
5. พัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการทํางานของบุคลากร กศน. โดยพัฒนาศักยภาพและทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy & Digital Skills) ให้กับบุคลากรทุกประเภททุกระดับ รองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาครูให้มีทักษะความรู้ และความชํานาญในการใช้ภาษาอังกฤษ การผลิตสื่อการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล เป็นขั้นตอน รวมทั้งจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ของบุคลากร กศน.และกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ
6. ปรับปรุงและพัฒนา โครงสร้างและระบบบริหารจัดการองค์กรปัจจัยพื้นฐานในการจัดการศึกษาและการประชาสัมพันธ์สร้างการ รับรู้ต่อสาธารณชน โดยเร่งผลักดันร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ให้สำเร็จ และปรับโครงสร้างการบริหารและอัตรากำลังให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลง นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการมาพัฒนาระบบการทำงาน นอกจากนี้ยังเน้นในเรื่องการพัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ทุกแห่ง และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการบริการ การดำเนินงาน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ของ กศน. ให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพต่อไป