สมุนไพรน่ารู้ อภัยภูเบศร: 5 เมนูเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส

Featured Video Play Icon

ในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ ขอแนะนำ 5 เมนู จากสมุนไพรที่มีฤทธิ์นการเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัส ทำเองได้ง่ายๆที่บ้าน นำฝากกัน 5 เมนู ดังนี้ ยำใบบัวบก ใส่กระเทียมสดเสรมิภูมิคุ้มกัน น้ำขิง ต้านหวัด  ซุปหัวหอมเสริมภูมิคุ้มกัน  แกงป่า ใส่กระชาย ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำขมิ้นชัน ต้านการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน

ประโยชน์จากสมุนไพร

  1. กระเทียม

กระเทียม มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immunity) และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive or Acquired Immunity) โดยมีเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญ คือ B lymphocyte ซึ่งจะสร้าง Antibody และ T lymphocyte ซึ่งจะสร้าง T cell ที่สามารถสร้างการตอบสนองที่หลากหลายทั้งต่อเชื้อไวรัสในเซลล์และนอกเซลล์ ✅ ฤทธิ์ในการต้านไวรัส สารสกัดจากกระเทียมสด มีสารสำคัญ คือ allicin มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม (envelop virus) และ ชนิดไม่มีเปลือกหุ้ม (non envelop virus)

มีการศึกษาพบว่า สาร allicin มีผลยับยั้งเชื้อไวรัสที่ทำให้หลอดลมอักเสบ (Infectious bronchitis virus : IBV) ในตัวอ่อนไก่ ซึ่งเป็นไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้มตระกูล Coronaได้

  1. ขิง

ขิง มีรสเผ็ดร้อน มีคุณสมบัติอุ่น พบฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยการใช้พื้นบ้านนำมากินแก้หวัด
มีการทดลองพบว่า น้ำขิงที่ได้จากการต้ม 30 นาที ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ(Macrophage) ที่มีหน้าที่ในการจับกินเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น
มีการทดลอง โดยใช้ขิงแห้งและขิงสดมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำขิงร้อน เพื่อทดสอบกับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัสอาร์เอสวี (Human Respiratory Syncytial Virus) ผลลัพธ์พบว่า.. น้ำขิงที่ได้จากขิงสด มีประสิทธิผลต่อต้านการสะสมของเชื้อไวรัสบริเวณเยื่อบุผิวทางเดินหายใจด้วยการป้องกันการยึดเกาะ หรือป้องกันการแพร่ของไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้

  • ข้อควรระวัง
    สตรีมีครรภ์ไม่ควรทานในปริมาณมาก
    ควรระวังในการรับประทานขิงร่วมกับยาในกลุ่ม Anticoagulant
    ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
    หากมีอาการแสบร้อนทางเดินอาหารควรรับประทานหลังอาหารทันที
  1. กระชาย

กระชายมีรสเผ็ดร้อน ขม เป็นสมุนไพรที่คนไทยในอดีตรู้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ นั่นหมายถึงกระชายไปช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะ เช่น สมอง ตับ ไต หลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งป้องกันโรคให้กับคนเรา ทำให้ปราศจากโรคหลอดเลือดแข็งตัว ระบบประสาททำงานได้เป็นอย่างดี ปราศจากโรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็ง และตับทำงานกำจัดสารพิษได้ดี กระชายมีคุณสมบัติเหล่านี้คือ มีสารที่ช่วยลดการอักเสบ และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งการแพทย์แผนปัจจุบันพบว่าอนุมูลอิสระและการอักเสบแบบเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง นอกจากนี้กระชายยังต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลอง และยังมีรายงานการวิจัยจากสหรัฐอเมริกา พบว่าสารพิโนสโตรบินจากกระชายมีฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ใช้กำจัดสารพิษในตับได้

จากการวิจัยพบว่าสารสกัดของกระชายขาวสามารถแสดงฤทธิ์ในการต้านไวรัสซาร์ส ในระยะหลังการติดเชื้อและยังพบว่าสาร panduratin ของกระชายขาวมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์  ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยับยั้งเชื้อไวรัส picornavirus ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก นอกจากนี้ยังพบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อีกด้วย

  1. หอมใหญ่

คนไทยมีการใช้หอมในการรักษาหวัดมานานแล้ว ทั้งหอมใหญ่และหอมแดง และพบว่าทั้งหอมใหญ่ และหอมเล็กมีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านฮิสตามีน(ต้านการแพ้) ช่วยขยายหลอดลม พื้นบ้านใช้แก้หวัด แก้ไอ สารเควอซิติน เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ในการต้านสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ที่สูง จึงนิยมนำ สาร Quercetin มาใช้เป็นยาเพื่อป้องกันโรคทางระบบหลอดเลือด และหัวใจ รวมถึงใช้ในการป้องกันการอักเสบ และอาการแพ้ต่างๆ

ตัวอย่างการทำซุปหอมใส่ไก่ ประกอบไปด้วย มะเขือเทศ มีฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน และต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก และ เนื้อไก่ ที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี

  1. ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันมีฤทธิ์โดดเด่นในการลดอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในปอด และยังมีการศึกษาในหนูทดลองว่าขมิ้นชันมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ต้านการไอ ป้องกันการเกิดพังผืดที่ปอดจากกระบวนการอักเสบ ซึ่งกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นที่ปอด ภายหลังจากการติดเชื้อไวรัส เป็นภาวะสำคัญที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงของโรคติดเชื้อ

ขมิ้นชันยังถือว่าเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนมาช้านาน โดยคนอินเดียกินขมิ้นชันโดยเฉลี่ยวันละ 2000-2500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นสารสำคัญ เคอร์คูมินประมาณ 60-100 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่า มีความปลอดภัย หากรับประทานในรูปแบบแคปซูล สามารถรับประทานได้วันละ 2-4 แคปซูล

ห้ามใช้ขมิ้นชันในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน กรณีตัดถุงน้ำดีทิ้งแล้วสามารถรับประทานขมิ้นชันได้ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตร ควรใช้ในความดูแลของแพทย์

สอบถามเพิ่มเติมหรือติดตามสาระสุมนไพร

เฟซบุ๊ค สมุนไพรอภัยภูเบศร

รึกษาหมอกับคลินิกออนไลน์ : @abhthaimed หรือ คลิก https://lin.ee/47PRVjiFz

นำเสนอ เป็นคลิป 5 เมนูเสริมภูมิคุ้มกัน https://www.youtube.com/watch?v=ZKKFWsGcIVM