องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สถาบัน เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) จัดการแข่งขัน “Thailand CANSAT – ROCKET Competition 2020” รอบชิงชนะเลิศ ขึ้น เพื่อเฟ้นหาทีม ชนะเลิศการประดิษฐ์ดาวเทียมขนาดเล็ก (Cansat) และจรวดเชื้อเพลิง น้ำตาล (Sugar Rocket) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผล ปรากฎว่า ทีม “TARA” เยาวชนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราช วิทยาลัย นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช คว้ารางวัล ชนะเลิศ CANSAT- ROCKET Award พร้อมเตรียมส่งเยาวชนทีมชนะ เลิศเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน CANSAT ระดับ นานาชาติ ณ สหพันธรัฐรัสเซีย ต่อไป
ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ กล่าวว่า “การแข่งขัน Thailand CANSAT – ROCKET Competition 2020 ในรอบชิงชนะเลิศนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่าง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสถาบันเทคโนโลยี ป้องกันประเทศ (สทป.) ที่ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้าง ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมผ่านการแข่งขัน ประดิษฐ์ CANSAT – ROCKET เพื่อจุดประกายความคิด สร้างสรรค์แรงบันดาลใจด้านเทคโนโลยีอวกาศให้แก่เยาวชน อันจะนำไป สู่การต่อยอดในอาชีพนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศในอนาคตต่อไป ซึ่งการแข่งขันในปีนี้ คณะกรรมการได้ทำการคัดเลือก เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากทั่วประเทศเหลือเพียง 15 ทีม มา เข้าร่วมชิงชัยในการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 ตุลาคม 2563 ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จังหวัด ปทุมธานี และสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ที่ผ่านมา”
ผลปรากฎว่า ทีม “TARA” เยาวชนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ ราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช คว้ารางวัลชนะเลิศ CANSAT-ROCKET Award จากการแข่งขัน “Thailand CANSAT – ROCKET Competition 2020” ได้แก่ นายพัชรพล แก้วเนิน, นายณัฐธัจจ์ ฉิมรักษ์, นายศุภณัฐ แซ่เตื้อง ,นางสาวภัททิยา ช่วงชล และนางสาวเนตรจันทรา ทรัพย์ล้น ซึ่งเยาวชนที่ชนะเลิศจะได้เป็นตัวแทน ประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน CanSat ระดับนานาชาติ ณ สหพันธรัฐ รัสเซีย ต่อไป
ดร.ชนินทร ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “รู้สึกยินดีกับเยาวชนทุกคนที่ได้รับรางวัล ในครั้งนี้ รางวัลเป็นเพียงแรงจูงใจ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความสำเร็จ แต่ สิ่งที่เยาวชนทุกคนได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ คือ มิตรภาพ และประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งในอนาคตเรา คาดหวังว่าเยาวชนเหล่านี้จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน ให้ประเทศไทยก้าวหน้าต่อไปด้วยการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีอวกาศไปประยุกต์ใช้ในอนาคต”