รมช.มนัญญาเดินหน้าเปิดทางเกษตรกรใชสารชีวภัณฑ์
รมช.มนัญญา เดินหน้าเปิดทางเกษตรกรใช้สารชีวภัณฑ์ สารอินทรีย์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นใน วอ. 2 เป็น วอ.1 เพื่อใช้ในแปลงเกษตรดันไทยเป็นครัวโลกยกสะเดาเป็นแม่แบบ ตั้งเป้าได้แนวปฏิบัติก่อนสิ้นก.ค.
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรทำรายละเอียดในการปลดล็อคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตามภูมิปัญญาไทยที่ถูกคุมไว้ในบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ วอ.2 เช่น สะเดา หรือจุลชีพของไทย มาอยู่ใน วอ.1 ทำให้เกษตรกรที่ประสงค์จะใช้เพียงแต่แจ้งกรมวิชาการเกษตรเพื่อทราบเท่านั้น ทั้งนี้เพราะต้องการให้ภูมิปัญญาไทยสามารถมาเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้ไทยเป็นครัวของโลกได้ โดยไม่ต้องพี่งพิงกับสารเคมีกำจัดแมลงที่นำเข้าเพียงทางเดียวรมช.เกษตรฯกล่าวว่า การกำหนดให้สารชีวภัณฑ์ และสารอินทรีย์ ที่ใช้ทางการเกษตรในบัญชีบัญชี วอ.2 มาเป็น วอ.1 จะเป็นการเปิดทางเบื้องต้นเพื่
อให้เกษตรกร ประชาชนหรือคนไทยทั่วไปและคนรุ่
นใหม่ๆ สามารถที่จะคิดค้น หรือพัฒนาสูตรต่
างๆทางการเกษตรหรือ สารอินทรีย์หรือสารชีวภัณฑ์เพื่
อใช้ในแปลงเกษตรกร ได้เพิ่มชนิดมี
ความหลากหลายมากขึ้น และเพื่อลดความกั
งวลของเกษตรกรที่มีการผลิ
ตสารกำจัดแมลงเพื่อใช้กั
นเองในครัวเรือนหรือเป็นการทั่
วไปโดยไม่ต้องกังวลว่าจะผิ
ดกฎหมายตามพรบ.วัตถุอันตราย อย่างไรก็ตามกรณีสารตาม วอ.2 หากต้องการผลิตเพื่อการค้าให้มี
การขึ้นทะเบียนและแจ้งการดำเนิ
นการ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธี
การของพรบ.วัตถุอันตราย 2535
“ประเทศไทยมีสมุนไพรกำจัดแมลงหรือวัชพืชหลายชนิด เช่นสารกำจัดแมลงที่นิยมคือสะเดา แต่ก็ปรากฏว่าสะเดาถูกจัดไว้ในบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ วอ. 2 ซึ่งอาจจะค้านกับความรู้สึกของคนไทย ซึ่งทางวิชาการอาจจะท้วงติงเรื่องความเข้มข้นหรือยกอุปสรรคต่างๆมาทำให้การจะใช้ยากลำบาก และเกษตรกรต้องมีการแจ้ง มีการขึ้นทะเบียน ดิฉันเห็นว่าเมื่อภูมิปัญญาไทยของเรามี ราชการมีหน้าที่อำนวยความสะดวก จะได้มีการนำมาใช้และเป็นการส่งเสริมสมุนไพรของบ้านเราด้วย ส่วนจะใช้สัดส่วนหรือปริมาณอย่างไรฝ่ายวิชาการก็ทำหน้าที่ แต่ไม่ใช่ปิดกั้นหรือห้ามทำให้เกษตรกรไทยต้องพึ่งพาแต่ของต่างชาติ ต้องนำเข้าเพียงทางเดียว อนาคตเราอาจจะมีสารสกัดจากพืชชนิดเยี่ยมก็เป็นได้ ลดการเสียดุลทางการค้าและลดสารเคมีตกค้างในร่างกาย ดิฉันคิดว่านี่จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้การเกษตรของไทยเป็นครัวโลกที่สมบูรณ์ “ นางสาวมนัญญากล่าว
รมช.เกษตรฯกล่าวว่าได้ให้กรมวิชาการเกษตรไปกำหนดมาตรการให้เสร็จในสองสัปดาห์เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนได้ภายในเดือน ก.ค. 2563 นี้
ทั้งนี้ในเอกสารเผยแพร่ของกรมวิชาการเกษตร ระบุว่า วัตถุ อันตรายชนิดที่ 1 ไม่มีวัตถุอันตรายที่กรมวิชการรับผิดชอบ วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 คือวัตถุอันตรายที่การผลิต นำเข้า ส่งออกและมีไว้ในครอบครองจะต้องขึ้นทะเบียนและแจ้งดำเนินการกับกรมวิชาการเกษตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด อาทิ สารชีวภัณฑ์ เช่นบาซิลลัส ทูริงเยนซิส สารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง ไวต์ออยล์ หรือรีไฟน์ ปิโตรเลียมออย์ ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากพืชเช่น สะเดา สารสำคัญหรือจุลชีพ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสำคัญหรือจุลชีพที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมแมลงหรือสัตว์ที่เป็นศัตรูพืช โรคพืช วัชพืช และการควบคุมการเจริญเติมโตของพืช ในการขออนุญาตกรณีชนิดที่ 2 ต้องแจ้งการประกอบกิจการ
……………………………………………………………….