ธ.ก.ส. ร่วม แม่โจ้ หนุนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่การพัฒนาภาคเกษตร

ธ.ก.ส. จับมือ ม.แม่โจ้ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องแก่ทั้งบุคลากรของ ธ.ก.ส และ ม.แม่โจ้ ตลอดจนเกษตรกรลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมร่วมจัดทําหน่วย การเรียน (Module) สําหรับเป็นเครื่องมือการจัดการเรียน การสอน รองรับนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านระบบคลังเครดิต (Credit bank) ต่อยอดสู่การยกระดับภาคเกษตรของประเทศ

วันที่ 12 มิถุนายน 2563 ณ ห้องประชุมเบญจมาศ แม่โจ้กอล์ฟคลับ & รีสอร์ท อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ระหว่าง รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ นายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อร่วมกันจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับบุคลากรของทั้งสองหน่วยงานตลอดจนนักศึกษาและเกษตรกรลูกค้าให้ได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติงานจริง

นายภานิต ภัทรสาริน ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ ธ.ก.ส. จะร่วมดําเนินโครงการงานวิจัยหรืองานบริการวิชาการกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อีกทั้งสนับสนุนบุคลากรในด้านวิชาการและดําเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การทํางานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องแก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย สนับสนุนการรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ (สหกิจศึกษา) เพื่อเพิ่มทักษะและประสบการณ์ทํางานก่อนสําเร็จการศึกษา นอกจากนี้ยังสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของ ธ.ก.ส. เกษตรกรลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เข้าร่วมการฝึกอบรมและการเรียน การสอนในลักษณะการจัดแบบหน่วยการเรียน (Module) เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการให้ความรู้แก่บุคลากรของธนาคารจะทำให้สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปต่อยอดสู่การยกระดับภาคเกษตรของประเทศต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยจะร่วมให้บริการวิชาการด้านต่างๆ ตลอดจนการวิจัยทางด้านการเกษตร และเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ภายใต้การดําเนินงานของ ธ.ก.ส. อีกทั้งให้การสนับสนุนบุคลากรด้านวิชาการในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยี และดําเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทํางานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องแก่บุคลากรและเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมถึงการร่วมกันจัดทําหน่วยการเรียน (Module) กับมหาวิทยาลัย สําหรับเป็นเครื่องมือการจัดการเรียน การสอน เพื่อการรองรับนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านระบบคลังเครดิต (Credit bank) และการเทียบโอนประสบการณ์/หลักสูตร Non-degree ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการฝึกอบรมและการเรียนการสอน ในลักษณะการจัดแบบหน่วยการเรียน (Module) เพื่อเกิดการพัฒนาตนเอง

 

…………………………………………………………………………..