องค์รวมถือเป็นกรอบความคิดพื้นฐาน (Basic ConceptualFramework) ที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัว หรือธุรกิจ เช่น SYSTEMS THINKING จะมองถึงสิ่งต่างๆ เป็นระบบการทำงาน system) และให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์และการเชื่อมโยงของส่วนต่างๆ ทั้งในระบบ และนอกระบบ
ไทยแลนด์พลัส ได้นำเรื่องราวการดูแลตัวเองด้วยธรรมชาติแบบองค์รวม จาก อ.คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์ จาก ifarm มาฝากกัน โดย อ.คณวัฒน์ ได้ให้แนวทางการดูแลตัวเองตามแนวคิดHOLISTIC HEALTH ซึ่งเป็นแนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่ไปหยิบเอากฎของธรรมชาติ (Law of Nature) มาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพ และชีวิต
ในมุมของสุขภาพองค์รวม มนุษย์ถือว่า Living Systemที่ประกอบด้วยร่างกาย (physical) อารมณ์ (Emotional / Mind)และจิตวิญญาณ (Spiritual) ที่ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม (Environmental)การมีสุขภาพที่ดีในแบบองค์รวมจึงหมายถึงการที่ Physical,Emotional และ Spiritual อยู่ในสภาวะสมดุล (Balance)และภายใต้สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Environment) และทางกายภาพ(Physical Environment) ที่ดีสุขภาพกายจะดีไม่ได้ หากสุขภาพใจไม่สมบูรณ์ และกลับกันสุขภาพใจจะดีไม่ได้ ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง ในมิตินี้ สุขภาพจึงมากกว่าการปราศจากโรคภัย แต่คือการดำรงอยู่ใน “สุขภาวะ”หรือ “Well-being”
Holistic Health ให้ความสำคัญสูงสุดกับการทำงานเชื่อมโยงของร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ หากส่วนหนึ่งส่วนใดมีปัญหา จะส่งผลกระทบถึงส่วนอื่นๆที่เหลือ จุดนี้จึงทำให้สุขภาพองค์รวม แตกต่างไปจากแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งเป็นการรักษากระแสหลักของบ้านเรา คือสุขภาพองค์รวมใช้แนวคิดแบบ Holism คิดเป็นวงกลม ส่วนแผนปัจจุบันมักใช้แบบ Analytics คิดแยกส่วน และตัดทอน (Reductionist)
แพทย์แผนปัจจุบันมองร่างกายมนุษย์เป็นส่วนๆ จุดไหนมีปัญหาก็ซ่อมตรงนั้น ร่างกายจึงเปรียบเสมือนเครื่องจักร เช่น ถ้าคนไข้ปวดหัว ไปหาหมอที่โรงพยาบาล หมอก็จำทำการซักประวัติ เช่นว่าปวดหัวมากี่วันแล้ว ปวดตรงไหน ข้างเดียวหรือสองข้าง มีอาการอาเจียนไหม แพ้ยาหรือไม่ เมื่อวินิจฉัยเสร็จแล้วก็สั่งยาแก้ปวดหัวให้คนไข้ไปทาน แต่จริงๆแล้วคนไข้มีอาการปวดหัวเนื่องจากการสะสมความเครียดเพราะมีปัญหาทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้าอยู่เป็นประจำ และเป็นระยะเวลานาน ยาที่ได้รับจึงเป็นแค่ระงับอาการปวดหัว (ร่างกาย) ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ (จิตใจ) ทั้งนี้แพทย์แผนปัจจุบันรักษาได้ผลเร็วกว่า รูปแบบการรักษามีทั้งยา การผ่าตัด และเทคโนโลยีอื่นๆ ส่วนการรักษาแบบองค์รวมก็มีประสิทธิภาพกับโรคเรื้อรัง และมักไม่ค่อยมี side effect เพราะเน้นการรักษาตามแนวทางธรรมชาติ(Natural Healing)
สุขภาพองค์รวมเด่นที่การป้องกัน (Preventive Healing)ส่วนแผนปัจจุบันเก่งที่การรักษา (Curative Healing) มีข้อมูลจากหลายสำนัก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศสรุปตรงกันว่ากว่า 70-80% ของการเจ็บป่วยสามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยตัวเอง มีเพียงประมาณ 20-30 % เท่านั้นที่จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่
นอกจากนี้ข้อมูลจากกองควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐที่สำรวจว่าปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการเจ็บป่วยของคนเรา ได้ข้อสรุปออกว่าโรคภัยไข้เจ็บส่วนใหญ่เกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวัน EverydayLifestyle) ที่ไม่ถูกต้อง (53%) รองลงมาเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม (19%) พันธุกรรม (18%) และคุณภาพของการรักษา (10%)
ทั้งนี้เพราะด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป แรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้น และการไหล่บ่าของวัฒนธรรมต่างชาติ ทั้งจากตะวันตก K-POP หรือ J-POP ทำให้คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในกรุงเทพ และเมืองใหญ่ๆ ทิ้งวิถีความเรียบง่ายแบบไทยๆไป
ตัวอย่างของ Lifestyle ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย เช่นทานอาหารไทยน้อยลง ชอบอาหารต่างประเทศโดยเฉพาะประเภทFast Food ทานแต่ข้าวขัดขาว ทานเนื้อสัตว์เป็นหลัก ทานผักน้อยลง โดยเฉพาะผักพื้นบ้าน ในบ้านปลูกแต่ไม้ดอก ไม่มีผัก พืชสวนครัวหรือเห็ดไว้ทานเองเลย ทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำ กินอาหารบรรจุกล่องโฟมอยู่เรื่อยๆ อุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ ดื่มนํ้าอัดลมต่างนํ้า ดื่มนํ้าครั้งละหลายแก้วระหว่างมื้ออาหาร ไม่ทานอาหารเช้า หรือทานอาหารไม่ตรงเวลาจนเป็นนิสัย ทานอาหารมื้อเย็นเกิน 20.00 น.จนเป็นเรื่องปกติ นอนเกิน 23.00 น. ทำงานถึงตี 2 ตี 3 ทุกวัน กินสารพัดอาหารเสริม วิตามินเป็นว่าเล่น ปวดหัวปุ๊ป กินยาปั๊ป ออกกำลังกายนอ้ ยลง หรอื ออกกำลัง กายไมถูกวิธี ( เช่น ไป Fitness 1 ทุ่ม กว่าจะเสร็จเกือบ 3 ทุ่ม เสร็จแล้วต้องแวะซื้ออาหาร กว่าจะถึงบ้านอีก 1 ชม หรือ 2 ชม ได้ทานข้าวมื้อเย็นตอนใกล้ 5 ทุ่ม ทานเสร็จก็นอนเลย อาหารไม่ทันได้ย่อยเลย ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่าไปออกกำลังกลายเพื่อสะสมโรค) เหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ และวิถีความเป็นไทย ซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ
การเจ็บป่วยจาก Lifestyle ไม่ได้แสดงผลทันที แต่จะสะสมไปเรื่อยๆ จนเมื่ออาการแสดงออก การรักษาก็มักไม่ทันการณ์แล้ว ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขระบุชัดเจนว่าสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทยมาจากโรคไม่ติดต่อ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด โรคปอดเรื้อรัง ซึ่งโรคภัยทั้งหมดนี้ล้วนแต่ป้องกันได้ หากเราตั้งใจและฝึกฝนในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจให้อยู่สภาวะสมดุลอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เจ็บป่วยแล้วค่อยไปหาหมอ และปล่อยหน้าที่การดูแลสุขภาพของตัวเราเองไว้กับหมอ เชื่อเถอะไม่มีใครดูแลสนใจและดูแลสุขภาพของเราได้ดีเท่ากับตัวเราเอง
ขอบคุณข้อมูล www.ifarm.co.th