กรมสุขภาพจิต ย้ำให้ใช้สติ “ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก” รับมือโรคติดต่อโควิด-19 เน้นดูแลช่วยเหลือกัน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

วันที่ 2 มีนาคม 2563 นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์โรคติดต่อโควิด-19 (COVID-19) ที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาอยู่นี้ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคนไทยทุกคน โดยกระทรวงสาธารณสุข มีแผนในการรับมือกับโควิด-19 ในรูปแบบของการควบคุมโรค เพื่อให้เข้าสู่ระยะที่ 3 อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป สามารถให้ทางโรงพยาบาลรับมือกับการเจ็บป่วยอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การบริหารจัดการของประเทศเพื่อให้เข้าสู่ระยะที่ 3 ตามแผนนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนไทยทุกคน ทุกอาชีพ โดยกรมสุขภาพจิต อยากให้คนไทยทุกคนต่อสู้ด้วย “สติ” ในการรับมือโรคติดต่อนี้ แบบ “ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก” โรคติดต่อไวรัสนี้สามารถป้องกันได้ ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค เมื่อเจ็บป่วยก็มีวิธีการดูแลรักษาได้ ซึ่งก็คล้ายๆ กับโรคทุกชนิด มีทั้งรุนแรง ไม่รุนแรง รายที่รุนแรงก็อาจเสียชีวิตได้ อัตราการตายจะมีประมาณ 1-2 % เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ 80% จะมีอาการไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิต้านทานในร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง จะจัดการกับไวรัสได้ดีที่สุด

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า กรมสุขภาพจิต ขอแนะนำประชาชนให้ใช้แนวทางในการรับมือโรคติดต่อโควิด-19 ด้วย 2 วิธี ดังนี้ 1. สำนึกต่อสังคม (Social responsiveness) คือ ทุกคนดูแลสุขภาพตนเองให้ดี กินของร้อน ใช้ช้อน